รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

พระยูง ชยานนฺโท (ชวน)

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาสังคมศึกษาในชีวิตประจำวันได้โดยปลูกฝังให้ผู้เรียนปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม สรุปได้จากการสังเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ จากหน่วยงาน นักวิชาการและนักการศึกษา ซึ่งสามารถส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในปัจจุบันได้ว่า ความพอประมาณกับภูมิสังคม สอดคล้องกับความต้องการความจำเป็นของสถานศึกษาและคนในชุมชน เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม ความคิดความเชื่อและวิถีชีวิตในมิติทักษะความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) ทักษะทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills) ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skill) ให้เข้ากับบริบทที่ผู้เรียนอยู่โดยประกอบด้วย 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน) การเขียน (Writing) และคณิตศาสตร์ (Arithmetic) เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวพุทธ เพื่อสะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน. รายงานการวิจัย, สาขาวิชาการประถมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2553). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ปรัชญา พลพุฒินันท์. (2563). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. เลย: พิมพ์ที่ วิทยาลัย เทคนิคเลย.

ปนธร ธรรมสัตย์ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : รายวิชา 421315 การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาชีพครู กรณีคณะศึกษาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรายวิชาชีพครู กลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือ. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิชุตตา ชูศรีวาส. (2559). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

สิริวรรณ ศรีพหล. (2556). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1: 1-30.

สุเทพ ศรีบุญเพ็ง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินธุรกิจของร้านชัยเจริญ เมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. ฉบับสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www2.doae.go.th/www/work/web/arune/self%20eff%202.htm, [20 พฤศจิกายน 2564].