ศึกษาวิเคราะห์ล้านนาเป็นเมืองขึ้นอยุธยา พ.ศ. 2088 ตามเอกสารล้านนา

Main Article Content

ปวริศร์ โชติพงษ์วิวัฒิ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นล้านนาเป็นเมืองขึ้นอยุธยา พ.ศ. 2088 ซึ่งเป็นปัญหาคลุมเครือ ผู้เขียนจำต้องศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดของบุคคลสำคัญร่วมสมัย คือ พระนางวิสุทธิเทวี โดยมีกรอบวิจัย คือ 1) เป้าหมายของพระนางวิสุทธิเทวี 2) หนทางบรรลุเป้าหมายของพระนางวิสุทธิเทวี 3) วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของพระนางวิสุทธิเทวี 4) คุณค่าของวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของพระนางวิสุทธิเทวี


 ผลการศึกษาพบว่า ล้านนาไม่ใช่เมืองขึ้นอยุธยาใน พ.ศ. 2088 เพราะไม่ใช่เพียงพระนางจิรประภาเท่านั้นที่ปกครองล้านนา แต่มีพระนางวิสุทธิเทวี พระมารดาของท้าวเมกุฎิปกครองอยู่ด้วย  พระนางวิสุทธิเทวีทรงมีบทบาทสำคัญในการรักษาและสืบทอดพระราชอำนาจของราชวงศ์มังรายไว้ได้  ด้วยวิเทโศบายลุ่มลึก กล่าวคือ ท่ามกลางความแตกแยกภายในและความวุ่นวายภายนอก ผู้ปกครองควรเลือกแก้ปัญหาและรักษาบ้านเมืองด้วยแนวคิดธรรมราชา แนวคิดนี้อาจมาจากคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท นิกายวัดป่าแดง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ราชภัฏเชียงใหม่.

เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. (2555). “สมเด็จเจ้าราชวิสุทธิ์”. วารสารเวียงท่ากาน.

ชญานุตม์ จินดารักษ์. (2546). “การเชื่อมโยงความในจารึกล้านนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวุฒิ ไชยชนะ. (2507). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

ประวิทย์ ตันตลานุกุล. (2552). ตำนานวัดบ้านแปะ (วัดราชวิสุทธาราม). เชียงใหม่: หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. เชียงราย: กรมศิลปากร.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ภาคปริวรรต เล่มที่ 2 ผูกที่ 1-5. เชียงใหม่: โครงการวิจัยคัมภีร์ใบลานในภาคเหนือ งานวิจัยล้านนา สถาบันสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

มติชนสุดสัปดาห์. ปริศนาโบราณคดี : การเมืองเรื่องสตรี ขัตติยนารีกับพื้นที่แห่งอำนาจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly.com/culture/article_15718 [25 สิงหาคม 2565].

มูลนิธิโครงการตำรา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/textbooksproject.org/ [25 สิงหาคม 2565].

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.

สรัววดี อ๋องสกุล. (2560). กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2556). ประชุมตำนานล้านนาไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

สงวน โชติสุขรัตน์. (ม.ป.ป.). ตำนานวัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด ฉบับของมหาหมื่น วุฒิญาโณ วัดหอธรรม (เจดีย์หลวง). ม.ป.ท.

สัมภาษณ์ นายก๋องแก้ว ตาบุญใจ. ผู้ดูแลหลาบเงิน (ตั้งขาว), 18 มกราคม 2562.

สิงฆะ วรรณาสัย (ปริวรรต). (2516). ตำนานพระธาตุหริภุญไชย. ลำพูน: โรงพิมพ์ลำพูนการพิมพ์.

สุรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ฮั่น เพนธ์, ศรีเลา เกษพรหม และอภิรดี เตชะศิริวรรณ. (2550). ประจำชุมจารึกล้านนา เล่ม 12 จารึกเชียงใหม่ ภาค 4. เชียงใหม่: สารภีการพิมพ์.