การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดอนสำราญ

Main Article Content

กัลยารัตน์ ชินจันทึก
วีระ วงศ์สรรค์
ธนาดล สมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดอนสำราญ ใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านบริบท (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (3) ด้านกระบวนการ และ (4) ด้านผลผลิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 8 คน และฝ่ายวิชาการ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามสำหรับ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษา และ (2) แบบสำรวจข้อมูลสำหรับฝ่ายวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 ผลการวิจัยนี้พบว่า การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดอนสำราญ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นในภาพรวม ด้านบริบท (μ= 4.07) ด้านปัจจัยนำเข้า ( μ= 4.23) ด้านกระบวนการ (μ= 4.21) และด้านผลผลิต (μ= 4.25) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรูญ กล้าหาญ. (2546). การประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนการประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นงนภัส บุญเหลือ. (2553). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประทุมอนุสรณ์ โดยใช้ CIPP Model. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. สิงห์บุรี: โรงพยาบาลสิงห์บุรี.

พรสวรรค์ จิตปรีดา. (2549). การประเมินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฏสกลนคร.

วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย พรมาลัยรุ่งเรือง. (2544). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างเคหภัณฑ์พุทธศักราช 2535 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2)

DeVon H. A., Block M. E., Moyle-Wright, P., Ernst, D. M., Hayden, S. J., Lazzara, D. J. et al. A Psychometric Toolbox for testing Validity and Reliability. Journal of Nursing scholarship 2007; 39 (2): 155-164.