การพัฒนาทักษะการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กบ โดยใช้แบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้มาตราพาเพลินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์

Main Article Content

ศรัณยา เมฆหมอก
ธนาดล สมบูรณ์
วีระ วงศ์สรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กบ หน่วยการเรียนรู้ มาตราพาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ จังหวัดชุมพร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) หาความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กบ หน่วยการเรียนรู้ มาตราพาเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ จังหวัดชุมพร (3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ จังหวัดชุมพร ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กบ หน่วยการเรียนรู้ มาตราพาเพลิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 31 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจาการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ, แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการอ่าน, แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของชุดแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.74/83.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ความก้าวหน้าทางทักษะ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.86 ร้อยละ 48.39 และ หลังเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.36 ร้อยละ 83.87 คะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.75 (3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 12.5 ร้อยละ 86.02 จากเกณฑ์ ร้อยละ 60 ชุดฝึกทักษะนี้ สามารถพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ และ (4) ประเมินผลการอ่านออกเสียงให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) การอ่าน คะแนนมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.65 ร้อยละ 91.13 จากเกณฑ์ ร้อยละ 60 แสดงว่าชุดฝึกทักษะการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กบ นี้สามารถพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬาลักษณ์ พันธ์งาม และสุเทียบ ละอองทอง. (2554). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความ เรื่องสำนวนไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2554: 16-21.

พรพิไล จันทินมาธร. (2564). ผลการใช้แบบฝึกทักษะและกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและเขียน สะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เพ็ญจันทร์ กิตติวัฒน์. “แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/304279 [20 สิงหาคม 2565].

มลิวัล แสงชารี และยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2561). การใช้การสอนแบบโฟนิกส์ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง “Let’s Learn English”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 107-118.

วรรณี โสมประยูร. (2537). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2547). นวัตกรรมทางการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.