การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายและการประเมินมูลค่าส่วนเพิ่ม ในการซื้อคุณลักษณะเสริมของคอร์สเรียนรู้ออนไลน์
คำสำคัญ:
คอร์สเรียนออนไลน์ , การประเมินความเต็มใจจ่าย, มูลค่าความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ “การเงินและการลงทุนขั้นพื้นฐาน” 2) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มซื้อคุณลักษณะเสริมเพื่อเรียนกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของรัฐที่มีชื่อเสียง ใบประกาศนียบัตร และการสะสมหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนปริญญา โดยมีกรอบแนวคิดและสมมติฐานงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีความไม่สามาตรของข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีความคาดหวัง ทฤษฎีอรรถประโยชน์ แนวคิดการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม และแนวคิดความเต็มใจจ่าย ซึ่งผลการศึกษานี้สะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาจากบุคคลทั่วไปที่เคยเรียนคอร์สออนไลน์ จำนวน 466 คน แบ่งกลุ่มตามช่วงอายุ 3 กลุ่ม ได้แก่ เจเนอเรชันซี (Generation Z)
เจเนอเรชันวาย (Generation Y) และเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) เบบี้บูมเมอร์ส (Baby Boomers) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองพาแนลโลจิท
ผลการวิจัยพบว่า 1) มูลค่าความเต็มใจจ่ายซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ “การเงินและการลงทุนขั้นพื้นฐาน”
มีราคาเริ่มต้นเฉลี่ยคอร์สละ 2,137 บาท 2) มูลค่าความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มซื้อคุณลักษณะเสริมเพื่อเรียนกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของรัฐที่มีชื่อเสียง 766 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.84 ใบประกาศนียบัตร 811 บาท
คิดเป็นร้อยละ 37.95 และการเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนปริญญา 253 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.84
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ข้อความและความเห็นในวารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า (E-journal) เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์