Journal Information
About the Journal
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งในการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม
2. เพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์บุคลากร และนักศึกษา
Publication Frequency
กำหนดเผยแพร่ 3 เล่ม ต่อปี
ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ
ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ
หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ
1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างต่ำตามเกณฑ์มาตรฐาน คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านขึ้นไปต่อบทความ
3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์
4. การยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร
ลักษณะของบทความที่จะรับ
1. บทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการในสาขานิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร ที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. ต้นฉบับงานจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกบทความ
ประเภทของบทความที่จะรับ
1. บทความวิชาการ (Article)
2. สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความวิจัย (Research Article)
3. บทความปริทัศน์ (Review Article)
4. วิจารณ์หนังสือ (Book Review)
5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของนักวิจัยอื่นๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ
รูปแบบการเขียนบทความ
- บทความต้องมีความยาวจำนวน 12-15 หน้า กระดาษ A4
- รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK
- ชื่อเรื่อง ใช้อักษร ขนาด 18 พอยท์ ตัวหนา และจัดให้อยู่กึ่งกลาง
- หัวข้อ ใช้อักษร ขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา และจัดให้อยู่ชิดซ้าย
- ชื่อผู้เขียน ใช้อักษรขนาด 14 พอยท์ และจัดให้อยู่ชิดขวา
- หน่วยงาน/สถาบัน ประเทศ ของผู้เขียนทุกคนในเชิงอรรถด้านล่างกระดาษ ใช้ตัวอักษรขนาด 12 พอยท์ และจัดอยู่ชิดซ้าย
- เนื้อหา ใช้อักษร ขนาด 16 พอยท์
- การกั้นขอบกระดาษ ด้านบน 1 นิ้ว ด้านล่าง 1 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้ว ด้านขวา 1 นิ้ว
- การอ้างอิงในเนื้อความ ใช้ระบบ APA Style
- บรรณานุกรม แยกเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ใช้รูปแบบ APA 7th edition และใช้อักษร ขนาด 14 พอยท์ ทั้งหัวข้อและบรรณานุกรม โดยจัดให้หัวข้อ "บรรณานุกรม" อยู่กึ่งกลาง และจัดรายการบรรณานุกรมให้อยู่ชิดซ้าย
รายละเอียดการจัดบทความ + ตัวอย่างการอ้างอิง APA 7th Ed
ส่วนประกอบของบทความ มีดังนี้
ก. หน้าแรก บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย 1 หน้า และภาษาอังกฤษ 1 หน้า ประกอบด้วย
- ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 1 หน้า (Title)
- ชื่อผู้เขียนทุกคน (Authors) ให้ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ให้เขียนหน่วยงาน/สถาบันของผู้เขียนทุกคนในเชิงอรรถด้านล่างกระดาษ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ให้เขียนเครื่องหมาย * ไว้บนชื่อบทความเพื่อระบุแหล่งทุนที่ได้รับการอุดหนุนในเชิงอรรถ
- บทคัดย่อ (ABbstract) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ
บทคัดย่อบทความวิจัย ขอให้เขียนบทคัดย่อแยกเป็น 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัย สมมติฐาน ประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อหน้าที่ 2 ให้อธิบายวิธีวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ย่อหน้าที่ 3 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
บทคัดย่อบทความวิชาการ ให้เขียนสรุปประเด็นสำคัญของบทความพร้อมทั้งตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ถูกต้องก่อนส่งบทความ
- คำสำคัญ (Keywords) ความยาวไม่เกิน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ทำเครื่องหมายไว้บนนามสกุลและระบุไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) (ต้องเป็นอีเมลที่ติดต่อได้ตลอดจนกว่าจะตอบรับบทความ) ไว้ในเชิงอรรถ
ตัวอย่าง: *Corresponding author; E-mail address: xxxxxxxxxxxxx@nida.ac.th
ข. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
- หลักการและเหตุผล (Research Background)
- วัตถุประสงค์ (Objective)
- การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
- สมมติฐานและกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Hypothesis and Theoretical Framework)
- ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
5.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการสุ่มตัวอย่าง สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ
(หรือ ผู้ให้ข้อมูล การเลือกผู้ให้ข้อมูล หน่วยศึกษา การเลือกหน่วยศึกษา สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ) (Sampling Method)
5.2 เครื่องมือ (Research Tools)
5.3 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น (Validity and Reliability Test)
5.4 การเก็บข้อมูลภาคสนาม (Data Collection Methods) (ให้ระบุการได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย – ถ้ามี)
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ (Data Analysis, Statistics Used) - ผลการวิจัย (Results)
- การอภิปรายผล (Discussion)
- ข้อจำกัด (Limitations)
- ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติและข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป (Recommendations for Practical Use and Further Research)
- สรุปผล (Conclusion)
- บรรณานุกรม (Bibliography)
กองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในทัศนะ ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในข้อเขียนต่างๆ ของวารสาร เพราะถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ความคิดเห็นหรือความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำประการใด