Developing Community Communication Innovators to Create Value Added Eco-Cultural Tourism : Phu Pha Thong, Roi Et Province
คำสำคัญ:
นวัตกรสื่อสาร, สื่อสารชุมชน, การท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรสื่อสารชุมชนสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวสายนิเวศวัฒนธรรม : ภูผาทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนา นวัตกรการสื่อสารชุมชน ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรการสื่อสารชุมชน พัฒนานวัตกรการสื่อสารชุมชน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรสื่อสารชุมชนสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวสายนิเวศวัฒนธรรม : ภูผาทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว 400 คน พบว่า ทักษะเกี่ยวกับผู้ส่งสาร และทักษะเกี่ยวกับเนื้อหาสาร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.80 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ทักษะเกี่ยวกับผู้รับสาร และรูปแบบการสื่อสารพิจารณาค่าเฉลี่ย 3.79 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะของนวัตกรสื่อสารชุมชนกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรสื่อสารชุมชน พบว่า ปัจจัยด้านทักษะเกี่ยวกับผู้ส่งสาร มีความสัมพันธ์ระดับสูงมากกับคุณลักษณะของนวัตกรสื่อสารชุมชน (r =.921**) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการศึกษาได้รูปแบบแนวทางการพัฒนานวัตกรการสื่อสารชุมชนภายใต้รูปแบบการสื่อสาร “Phu Pha Tong Story” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ 1.การสร้างการมีส่วนร่วม 2.การสร้างทักษะการสื่อสาร 3. การสร้างสรรค์และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ข้อความและความเห็นในวารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า (E-journal) เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์