การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงทางการยศาสตร์กับระดับความเจ็บปวด ของกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

Main Article Content

ณัฐินี จิตรประเวศน์
สุทธิดา ภานุรัตน์
อมรรัตน์ มนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ประเมินระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงทางกายศาสตร์กับระดับความเจ็บปวดกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี ที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ 4 ชั่วโมงต่อวัน      ขึ้นไป และมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหลังและไหล่ จากการคำนวณหากลุ่มตัวอย่างในโปรแกรม G*Power จำนวน 23 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตาม Rapid office Strain Assessment (ROSA) และระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One-Sample t-test และค่าสถิติ Pearson’s Correlation ผลการศึกษาพบว่า อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ มีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ 5 คะแนนขึ้นไป (ร้อยละ 82.6) ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมและปรับปรุงลักษณะในการทำงานโดยเร็วและยังมีระดับความเจ็บปวดอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.43          โดยบริเวณที่ปวดส่วนใหญ่คือกล้ามเนื้อหลัง Trapezius (ร้อยละ 91.3) รองลงมาคือกล้ามเนื้อหลัง Latissimus (ร้อยละ 34.8) และกล้ามเนื้อไหล่ Deltoid (ร้อยละ 30.4) นอกจากนี้ยังพบว่าความเสี่ยงทางการยศาสตร์กับระดับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์       มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง


 

Article Details

How to Cite
จิตรประเวศน์ ณ., ภานุรัตน์ ส. ., & มนตรี อ. (2023). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงทางการยศาสตร์กับระดับความเจ็บปวด ของกล้ามเนื้อหลังและไหล่จากการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารสังคมศาสตร์ประยุกต์, 1(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jass/article/view/546
บท
บทความวิจัย

References

ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และเพชรรัตน์ สุขสลุง. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลัง

ส่วนล่าง ของบุคลากรสาธารณสุข สานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(3), 195-204. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/issue/view/16738/3973

นงลักษณ์ วาทหงษ์. (2560, 12 มิถุนายน). การยศาสตร์ คืออะไร?. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง

แรงงานจังหวัดปทุมธานี. https://bit.ly/3Su2XIf

นรากร พลหาญ, สมสมร เรืองวรบูรณ์, โกมล บุญแก้ว, และอนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. (2557). กลุ่มอาการที่เกิด

ต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 6(12), 26. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19078/16781

ปรีชา ลอเสรีวานิช, ไพโรจน์ พันธ์มุง, และอัมรินทร์ คงทวีเลิศ. (2559). การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด

อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายสนับสนุน. https://bit.ly/3rpiOvM

ปวีณา มีประดิษฐ์. (2559). การประเมินความเสี่ยงทำงานด้านการยศาสตร์ (พิมพ์ที่ 1). โอ.เอส.พริ้นติ้ง

เฮ้าส์. https://drive.google.com/file/d/1oDB0x22oSl_F7PAwCK1byt83533jtHrn/view

พาวิณี ใจบาน, วีระพร ศุทธากรณ์, และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2556). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการ

ผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อของบุคลกรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทางานกับคอมพิวเตอร์.

พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ 2), 1-11. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ cmunursing/article/view/19078/16781

เมธินี ครุสันธิ์ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงาน

สำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(5), 696-7 03. https://rtt.kku.ac.th/ejournal/pa_upload_pdf/ 263067.pdf

วิฑูรย์ สิมะโชคดี และคณะ. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (พิมพ์

ครั้งที่ 1). สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.

https://safetyhubs.com/wp-content/uploads/2019/06/ergonomics-std.pdf