ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปรีชา ศรีซองเชศ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ (1) เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการเรียนด้วยระบบบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทย และ (4) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดาราคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาภาษาไทยด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ร่วมกันที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.36/89.14 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8249 นักเรียนที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลประเมินคุณภาพของระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากและ (4) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบที่พัฒนาขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงและก่อให้เกิดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: โรง

พิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกียรติพงษ์ นุ่มแนบ และเกศินี ครุณาสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “หากสยามยังอยู่

ยั้ง ยืนยง” เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

ตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริ

นทรวิโรฒ.

ญาณินท์ อุดมสุขถาวร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กลุ่ม

สาระสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ Augmented

Reality สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขา

หลักสูตร และการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณรงค์ฤทธิ์ ธีระเวช และกฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อ

สนับสนุนวิธีการสอนแบบตั้งคาถาม. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 287.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2555). เทคโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตาราเรียน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมี

ปฏิสัมพันธ์รายวิชาระบบไอซีทีและการจัดการยุคใหม่. วารสารสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(1), 25-43.

สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2563). การพัฒนาระบบบริหาร

จัดการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการศึกษาทางเลือกสาหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา. ใน

การประชุมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ. วิชาการ) ครั้งที่ 1.

หน้า 55-56. 3 สิงหาคม 2563.

สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, นฤมล รอดเนียม, พิภพ วชังเงิน, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ.

(2564). การศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสาหรับ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการทางการศึกษา ครั้งที่ 9

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 5-7 พฤษภาคม 2564. หน้า 294-306. สงขลา:

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2563). การพัฒนาระบบบริหาร

จัดการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการศึกษาทางเลือกสาหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา. ใน

การประชุมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.วิชาการ) ครั้งที่ 1.

หน้า 55-56. 3 สิงหาคม 2563.

Dhawan, S. (2020). Online Learning: A Panacea in the Time of Covid-19 Crisis. Journal of Educational

Technology Systems, 49(1) 5-22.

Ghazal, S., Al-Samarraie, H. and Wright, B. (2020). A Conceptualization of Factors Affecting

Collaborative Knowledge Building in Online Environments. Online Information Review, 44(1),

-89.

Hamdan, K.M., Al-Bashaireh, A.M., Zahran, Z., Al-Daghestani, A., AL-Habashneh, S. and Shaheen, A.M. (2021). University Students' Interaction, Internet Self-Efficacy, Self-Regulation and Satisfaction

with Online Education during Pandemic Crises of COVID-19 (SARS-CoV-2). International

Journal of Educational Management, 35(3), 713-725.

Kagan, S. (2013). Kagan Cooperative Learning. Kagan Cooperative Learning Publisher.

Kai Wah Chu, S., Siu, F., Liang, M., Capio, C.M. and Wu, W.W.Y. (2013). Users’ Experiences and

Perceptions on Using two Wiki Platforms for Collaborative Learning and Knowledge

Management. Online Information Review, 37(2), 304-325.

Ranjbarfard, M. and Heidari Sureshjani, M. (2018). Offering a Framework for Value Co-Creation in

Virtual Academic Learning Environments. Interactive Technology and Smart Education, 15(1),

-27.

Sabbah, S.S. (2016). The Effect of Jigsaw Strategy on ESL Students’ Reading Achievement. Arab World

English Journal, 7(1), 445-458.

Sankaranarayanan, S., Kandimalla, S.R., Cao, M., Maronna, I., An, H., Bogart, C., Murray, R.C., Hilton,

M., Sakr, M. and Penstein Rosé, C. (2020). Designing for Learning During Collaborative

Projects Online: Tools and Takeaways. Information and Learning Sciences, 121(7/8),

-577.

Strauß, S. and Rummel, N. (2020). Promoting Interaction in Online Distance Education: Designing,

Implementing and Supporting Collaborative Learning. Information and Learning Sciences,

(5/6), 251-260.

Txin, C.X. and Yunus, M.M. (2019). The Effects of Kagan Cooperative Learning Structures in Teaching

Subject–Verb Agreement among Rural Sarawak Learners. Arab World English Journal (AWEJ),

(2), 151-164.

Yunus, M.M. (2018). Innovation in Education and Language Learning in 21st Century. Journal of

Sustainable Development Education and Research, 2(1), 33-34.