วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM <p>วารสาร สหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ ด้านการจัดการภาครัฐและเอกชน บริหารการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมศาสตร์</p> th-TH [email protected] (Miss.Paewphan Phrapana) [email protected] ( Jiraporn Chananchana) Tue, 23 Apr 2024 14:08:57 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประเมินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1119 <h1>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 136 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การประเมินความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดกับปัจจัยส่วนบุคคล ไม่แตกต่างกัน และ 3) ด้านการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดพบว่า เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</h1> ชัญชนก ปรีชาชน Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1119 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1132 <h1 style="margin: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; font-weight: normal;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ (1) เพื่อประเมินการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากร กับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงาน และลูกจ้างสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 230 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติงานพบว่า อยู่ในระดับมาก </span></h1> <h1 style="margin: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; font-weight: normal;">(2) ด้านเปรียบเทียบการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการ</span></h1> <h1 style="margin: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; font-weight: normal;">การเลือกตั้งจำแนกด้วยลักษณะประชากร พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span></h1> <h1 style="margin: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Niramit AS'; font-weight: normal;">(3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพัฒนาแรงจูงใจการปฏิบัติราชการของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาแรงจูงใจเป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 </span></h1> ญาสุมินทร์ มากอำไพ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1132 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1168 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลในการบริหารงานและประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 388 คน ได้แก่ ประชากรในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัย (1) ด้านระดับประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน&nbsp;&nbsp; &nbsp;มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลในการบริหารงานและประสิทธิผลในการจัดการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ</p> กนกวรรณ สุวรรณา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1168 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประเมินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1174 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 209 ราย คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01</p> ลือศักดิ์ สังขกุล Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1174 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1175 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมิน การจัดการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (2) เพื่อเปรียบเทียบ การจัดการนวัตกรรมเพื่อพัฒนา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จากทัศนะ ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการนวัตกรรมศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กับปัจจัยที่มีผลต่อ การจัดการนวัตกรรมการ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็น ข้าราชการ พนักงานราชการ นักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) การจัดกรนวัตกรรมการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อยู่ในระดับมากที่สุด (2) การจัดการนวัตกรรมการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย&nbsp; อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากทัศนะ ของกลุ่มตัวอย่าง มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรอย่างมีนัยสำคัญ.05 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการนวัตกรรมเพื่อพัฒนา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลการจัดการนวัตกรรมการจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.01</p> ปณิตา วิจิตรโสภา Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1175 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700