https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/issue/feed วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ 2024-12-10T17:02:11+07:00 Miss.Paewphan Phrapana paewphan.rcim@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสาร สหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ ด้านการจัดการภาครัฐและเอกชน บริหารการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย </p> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1636 การใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครูในกลุ่มโรงเรียนธงชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2024-11-29T15:02:16+07:00 นิรุตต์ รุ่งเรือง ppmarma2536@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครูในกลุ่มโรงเรียนธงชัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 (2)เพื่อเปรียบเทียบการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครูในกลุ่มโรงเรียนธงชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามเพศ อายุระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานประชากรที่ใช้ ได้แก่ ครูในกลุ่มโรงเรียนธงชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 จำนวน 6 โรงเรียน ทั้งหมด จำนวน 70 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเองเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครู ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการทดสอบค่าF-test แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) <br /> ผลการวิจัยพบว่า1.การใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครูในกลุ่มโรงเรียนธงชัยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยคือด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานตามลำดับ 2.การเปรียบเทียบ จำแนกตามเพศพบว่าเพศต่างกันมีระดับคะแนนการปฏิบัติในการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนก ตามอายุ พบว่า อายุแตกต่างกัน มีคะแนนระดับการปฏิบัติในการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันแต่มีคะแนนระดับการปฏิบัติด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานแตกต่างกันและเมื่อจำแนกระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน พบว่า ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานต่างกันคะเเนนระดับการปฏิบัติในการใช้แอปพลิเคชันไลน์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานแตกต่างกัน</p> 2024-12-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1637 การประเมินโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 2024-12-03T19:17:11+07:00 สิริพร โตพิทักษ์ martapreepa@gmail.com <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ในพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 142 คน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ด้านระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความเห็นของผู้ผลิต และผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ในพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับ ระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ไม่แตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก</p> 2024-12-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1639 ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2024-11-29T15:04:38+07:00 อุดมศักดิ์ ผานัด matapee9@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ใน 11 ด้าน ตามความคิดเห็นของครูและ (2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร ได้แก่ครูในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 264 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า1)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2)ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ครูที่มีประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4)ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ใน อำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้าน ไม่ แตกต่างกัน</p> 2024-12-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1640 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 2024-11-29T15:07:32+07:00 รสธร เต็มหน Rodsathon10.t@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย(2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย ตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน (3)เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อยประชากร คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย จำนวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ครู โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย จำนวน 178 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน แล้วเทียบสัดส่วนตามจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง .75 –1 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .90</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า (1)การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2)ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย พบว่า ครูที่มีเพศต่างกันและมีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกัน (3)ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสในการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-12-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JIIM/article/view/1641 การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุโรงเรียน ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 2024-12-02T20:06:18+07:00 ธนาภรณ์ จงรักษา matapee9@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุโรงเรียนของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ (2)ศึกษาความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2)แบบสอบถามความความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1)ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุโรงเรียน ส่วนที่ 1 จัดทำรายการใหม่เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และ ส่วนที่ 2เอกสารรายงาน เพื่อใช้ในการเก็บ ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และ (2)ความพึงพอใจต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด 1.ด้านความสะดวกและความง่ายในการใช้งาน ผลการศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2.ด้านความถูกต้องในการทำงาน ผลการศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3.ด้านประโยชน์ในการบริหาร ผลการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4.ด้านการรักษาความปลอดภัย ผลการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการและนวัตกรรมการจัดการ