การพัฒนาตัวแบบการเลือกรูปแบบในการเดินทางของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวแบบการเลือกรูปแบบการเดินทางของนักศึกษาจากต้นทางสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเดินทางและประยุกต์ใช้ในการหาต้นทุนและมูลค่าเวลาในการเดินทางของนักศึกษา จากพื้นที่พักอาศัย(ต้นทาง)ไปยังพื้นที่(ปลายทาง)มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการศึกษานี้ได้พิจารณาเลือกศึกษาต้นทาง คือ ที่พักอาศัยของนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครวรรค์ไปยังพื้นที่ปลายทางมหาวิทยาลัย(ในเมือง)และพื้นที่การศึกษาย่านมัทรีในระยะทางระหว่าง 1 ถึง 30 กิโลเมตร ด้วยเทคนิค Reveal preference ที่ใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามทางเลือกการตัดสินใจของบุคคลบนพื้นฐานทฤษฎีอรรถประโยชน์ ซึ่งผลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาใช้ในการพัฒนาตัวแบบทางเลือกรูปแบบแบบไบนารีโลจิตโมเดล เพื่อพยากรณ์ทางเลือกที่เกิดขึ้นในอนาคตของการเดินทางระหว่างรถส่วนตัวและรถสาธารณะในจำนวน 400 ตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตัวแปรระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางมีผลต่อรูปแบบการเดินทางอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งค่าเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องในการพยากรณ์ของรถโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 79 โดยช่วงที่มีความน่าจะเป็นในการเลือกใช้บริการรถรับส่งนักศึกษาสูงที่สุดของตัวแปรเวลาในการรอคอยรถ คือ 10-15 นาที และค่าใช้จ่าย 20-25 บาท โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องในการพยากรณ์ของรถส่วนตัว ร้อยละ 63.6 ต่อโอกาสในการเลือกการเดินทางในรูปแบบบริการรถรับส่งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Article Details
References
กลุ่มงานทะเบียนและประเมินผล. (2559). สถิติและจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Available: http://regis.nsru.ac.th/, (2 ธันวาคม 2559)
Lisco, E. T. (1974). Behavior Demand Modeling and Valuation of Travel Time.
Special Report 149 Transportation Research Board. Washington, D.C.: National Research Council, 103-108.
McFaden, D. & Domeneneich. T. A. (1976). Urban Travel Demand a Behavioral Analysis. North
Holland
Ortuzar, J. D. & Willumsen, L. G. (1994). Modelling Transport (Second Edition). England: John
Wiley& Sons Ltd.