คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนอง

Main Article Content

ณัฐธิดา วิทยารัฐ

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการจังหวัด ระนอง (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ ระนอง จากความคิดเห็นของ กลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการ จังหวัดระนอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสังกัดสำนักงานจังหวัดระนอง จำนวน 160 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนองไม่มีความแตกต่างกันเมื่อพิจารณาจากลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (3) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนอง มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จังหวัดระนอง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุรชัย แก้วพิกุล. (2552) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร .

สาธิต ปานอ่อน ปภาวดีมนตรีวัต และจีระ ประทีป. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช กรุงเทพมหานคร.

เสน่ห์ นิติวิทยากุล. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารราบ: โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงสมการกำลัง 2 ลำดับที่ 2 วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนาสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.10(19), 217-234.

สุเนตร นามโคตรศรี. (2553). คุณภาพชีวิต การทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอิสสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีจังหวัดนครราชสีมา.

สุรศักดิ์ นนทพรหม.(2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการนายทหารชั้นประทวน สังกัด กรมกำลังพล กองกองทัพบกการศึกษาอิสสระ.ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุมกรุงเทพมหานคร.

รัตนา เอื้อบุญยะนันท์. (2555). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของนายทหารสัญญาบัตรในโรงพยาบาลสังกัด กองทัพบก วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา.1(1) , 69-78.

สุรสีห์ ศรีวนิชย์. (2561). กลไกการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอัตลักษณ์นายทหารสัญญาบัตรภายใต้ภัย คุกคามในอนาคต.วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ 9(2) , 63-73.

ชัยยุทธ์ ชัยปัญญา. (2556). องค์ประกอบการพัฒนานักเรียนนายสิบทหารบกสู่ความเป็นเลิศ บทความ วิชาการโรงเรียนนายสิบทหารบก กองการศึกษาโรงเรียนนายสิบทหารบก.

ดรัณ ยุทธวงษ์สุข. (2556). การปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย. วารสารเกษมบัณฑิต.14(2) ,59-72.

ผจญ เฉลิมสาร. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงาน https//www.moe.go.th approached 4th Oct 2019)

พนิดา อร่ามจรัส. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององต์การของพนักงานกลุ่มบริษัท โทรีเซนไทย

เอเยนซีจำกัด. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร.

พิทยา โภคา. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์พลาสติก จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรีจังหวัดชลบุรี