การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

Main Article Content

รสธร เต็มหน

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย(2)เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย ตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน (3)เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อยประชากร คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย จำนวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ครู โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย จำนวน 178 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน แล้วเทียบสัดส่วนตามจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง .75 –1 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .90


       ผลการวิจัย พบว่า (1)การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2)ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาย้อย พบว่า ครูที่มีเพศต่างกันและมีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกัน (3)ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสในการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2),31 - 41.

เกียรติศักดิ์ ช่างเรือน. (2559). การศึกษาบทบาทการบริหารระบบการดูแลผู้เรียนของผู้บริหาร สถานศึกษ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และ ฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต),สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี.

จิดาภา มาประดิษฐ์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา.สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ปราณี เตยอ่อน. (2558). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล). (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักฯ กลุ่มนโยบายและแผน.

เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี,

วราวุฒิ เหล่าจินดา. (2559). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2556). วิธีและเทคนิคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2559). คู่มือหลักสูตรการพัฒนานักจิตวิทยาโรงเรียน.

กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนืองบุรี.

วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 304 - 314