ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

อุดมศักดิ์ ผานัด

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ใน 11 ด้าน ตามความคิดเห็นของครูและ (2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร ได้แก่ครูในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 264 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นและสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


       ผลการวิจัย พบว่า1)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2)ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ครูที่มีประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4)ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ใน อำเภอลาดหลุมแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้าน ไม่ แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริฉัตร เล็กตวง. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราณี ฉิมทับ. (2551). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของครูผู้สอน ในอำเภอบันนังสตา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

พัฒนา อ่ำท้าว. (2548). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองเรือ จังหวัด ขอนแก่น.(ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพจิตร ศรีโนนยาง. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลักษณ์อนงค์ เพชรสังหาร. (2547). การศึกษาความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วริยาพร โพธิ์สุข. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสหวิทยาเขตปทุมเบญจา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิรัตน์ ปานแก้ว. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาพิจิตร เขต 1และเขต 2. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

วีรชาติ วิลาศรี. (2549). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สมชาย เทพแสง. (2547). ผู้นำการศึกษาในยุคดิจิตอล” E-Leadership : ผู้นำการศึกษาในยุคดิจิตอล. วารสารวิชาการ, 7(1), 55-62.

สมศักดิ์ เด่นเดชา (2543). ทักษะการบริหารงานและประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดยะลา. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) . สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สารัตน์ พวงเงิน และอาคม มหามาตย์. (2551). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุขเกษม พาพินิจ. (2542). การศึกษาพฤติกรรมการเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาพร แสงวุธ. (2556). การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัด ปทุมธานี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

Krejcie, Robert V.and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activitics. Educational and Psychological Measurement. 30,607-610.