ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพลเมืองดิจิทัล ของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูตามแนวคิดพลเมืองดิจิทัล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูตามแนวคิดพลเมืองดิจิทัล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 263 คน 18 โรงเรียน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพลเมืองดิจิทัล ของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ด้านการทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพ รองลงมา ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ด้านการแสดงความใส่ใจในการสอน และด้านการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูตามแนวคิดพลเมืองดิจิทัล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ตามการปฏิบัติของข้าราชการครูจำแนกตามวุฒิการศึกษาและจำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยรวมและรายด้าน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชวิศา กลิ่นจันทร์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของบลูม กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปริศนา กล้าหาญ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วณิชญา นิยมญาติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย
ไตรรัตน์สัมพันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัย
ราชพฤกษ์.
สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาเรื่องแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สาคร พันแสน. (2556). ประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนบ้านตากแดด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
หริสา ยงวรรณกร. (2556). การปฏิรูปการเรียนรู้ของครูในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 10(9), 111-112.
Beach, D. M., & Reinhartz, J. (1984). Using criteria of effective teaching to judge teacher performance. NASSAP Bulletin, 68(475), 32-33.
Borich, G. D. (2004). Effective teaching methods. R.R Donnelley & Sons.
Gordon, R. (1998). A curriculum for authentic learning. The Education Digest, 63(7), 4-8.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement,
(3), 607-610.