ประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยุคดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ภาวรินทร์ วิเวกจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยุคดิจิทัลของบุคลากร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน ยุคดิจิทัลของ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการจัดการกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแก่งกระจาน  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 6 แห่ง จำนวน 329 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย(1)ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยุคดิจิทัลของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า  บุคลากรที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการ ไม่แตกต่างกัน และบุคลากร ที่มีสถานภาพ ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการปฏิบัติงานราชการและประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการ พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์  โดยใช้สถิติ Pearson Correlation ในการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 พบว่า การจัดการปฏิบัติงานราชการ โดยรวม ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านการบังคับบัญชา ด้านการประสานงาน และด้านการควบคุมโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานราชการ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี สูงสมบัติ. (2554). บทบาทผู้บริหาร ผู้นำในยุคใหม่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.

ธณัฐพล ชอุ่ม. (2558). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในเขตภาค

กลางของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม].

บรรจง โตเปาะ. (2559). ประสิทธิผลการจัดการของสำนักงานประกันสังคม จังหวัดสมุทรสาคร

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์].

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 7, 18-28.

ภมร ขันธหัตถ์. (2565). กฎหมายธุรกิจ (ฉบับปรับปรุง). ทิพยวิสุทธิ์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สถาบันพระปกเกล้า.

วิฑูรย์ เผือกผุด. (2559). ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการปกครองท้องที่ ตำบล

ศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์].

ศรีสกุล เจริญศรี. (2558). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานใน

สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม].

สมนึก สอนเนย. (2564). ปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน

จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี].

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). แผนปฏิบัติการสร้างราชการใสสะอาด. บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์จำกัด.

สุนทร เสงี่ยมพงษ์. (2559). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานฝ่ายปฏิบัติการเสา

โทรคมนาคม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก].

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วิทยาลัยการทัพบก: การประปา.

Caplow, T. (1964). Principles of organization. Harcourt, Brace and World.

Fayol, H. (1916). General and industrial management. Institute of Electrical and Electronics Engineering.