การพัฒนารูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” โดยศึกษาความคิดเห็นในการดำเนินการ ศึกษาประสิทธิผล และศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน ตัวแทนนักเรียน จำนวน 10 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน และตัวแทนผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 2) แบบประเมินความคิดเห็นในการดำเนินการตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 3) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 4) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติกลไกการบริหารจัดการศึกษา มิติการมีส่วนร่วมของชุมชน และมิติการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละมิติมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน โดยใช้กลวิธีดำเนินการมีส่วนร่วมตามหลักบริหาร PDCA และมีผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยูในระดับมาก 2) การทดลองใช้รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” พบว่า ผลการประเมินความคิดเห็นในการดำเนินการตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชนมีความคิดเห็นในระดับมาก ผลการประเมินประสิทธิผลมีความคิดเห็นในระดับมาก และผลการสัมภาษณ์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน ความพร้อมของครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา การทำงานเป็นทีม และทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานมีเพียงพอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.