การศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในตำบลชมพูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

ชเนศร์ ศรีวิชัย
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มประชากรในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน และครู 72 คน รวมทั้งสิ้น 77 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า


               การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อำนาจการให้รางวัล (µ = 4.28,
s = .65) รองลงมาคือ อำนาจตามกฎหมาย (µ = 4.26, s = .63)  อำนาจการอ้างอิง (µ = 4.21, s = .73) อำนาจความเชี่ยวชาญ (µ = 4.18, s = .80)  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ อำนาจการบังคับ (µ = 4.18, s = .81) เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อำนาจจากการให้รางวัล พบว่าประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม (µ = 4.38, s = .67) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง (µ = 4.16, s = .90)  เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ อำนาจจากการบังคับ พบว่าประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาตักเตือนผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานศึกษาที่กระทำผิดกฎระเบียบก่อนการลงโทษอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง (µ = 4.26, s = .92) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษาทำทัณฑ์บนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิด (µ = 4.10, s = 1.00) 


 

Article Details

How to Cite
ศรีวิชัย ช. ., & เวชญาลักษณ์ ณ. . (2023). การศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในตำบลชมพูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 3(1), 17–27. https://doi.org/10.2822.EAI.2023308
บท
บทความวิจัย