การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ให้มีประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ได้มาโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ 2) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ มีประสิทธิภาพ 83.15/86.85
2) ด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แขไข จันทร์บวร. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
(หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุรีภรณ์ ปุยะพันธ์. (2557). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญเพื่อส่งเสริมความสามารถใน
การอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ณัฐกานต์ เฟื่องมณี. (2564). การพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5W1H ร่วมกับ แผนผัง
ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการ
สอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นิฏฐิตา แจ่มกระจ่าง. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ จากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ชีวิตมหัศจรรย์ของออกัสต์
โดยใช้ทฤษฎีของมาร์ซาโนร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การ
ค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา
สำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮาสออฟ เคอรมิสท.
เพ็ญพักตร์ ทดลา. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้การเรียนรู้เทคนิค STAD ประกอบ
แบบฝึกทักษะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภาสกร เรืองรอง. (2557). การพัฒนาอีบุ๊กบนคอมพิวเตอร์แบบพกพา e-Book บน Tablet PC. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พรทิชา.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์. (2564). รายงาน การจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
Gagne, M. R., Briggs, J,L., and Wagar, W. (1974). The principls of instructional design (4th ed.). New York:
Holt.