การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานวิชาการ ของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พงษ์สิทธิ์ แสงอรุณ
พรรณนิภา เนื้อสีจัน
พิชญาพร แจงทอง
ภัควลัญชญ์ ดีเกิด
มนทิญา ปั้นสำลี
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 56 คน โดยการสุ่มแบ่งชั้นและผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก และแบบสัมภาษณ์แนวทางการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก  ด้านการส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการภารกิจหน้าที่อื่นๆตามบทบาทโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการอบรมผู้บริหาร และครูตามหลักสูตรพัฒนาการเตรียมความพร้อมการเป็นโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2. ผลการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารควรให้การสนับสนุน นิเทศติดตามการพัฒนาครูด้านอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม ผู้บริหารและครูร่วมกันจัดทำแผนคุณภาพ แผนนิเทศติดตาม โดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และมีแนวทางการจัดกิจกรรมโดยกำหนดให้ผู้บริหารและครูร่วมกันวางแผนเพื่อตรวจสอบการพัฒนาศักยภาพในด้านทักษะการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนให้มีประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
แสงอรุณ พ., เนื้อสีจัน พ., แจงทอง พ., ดีเกิด ภ., ปั้นสำลี ม., & เชาวน์ชัย ส. (2024). การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานวิชาการ ของโรงเรียนแม่ข่ายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(3), 43–53. https://doi.org/10.2822.EAI202431388
บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2553). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่3). โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดปกรณ์ศิลป์ พริ้นติ้ง.

จิติมา วรรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์3.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ 2553.โรงพิมพ์ พิมพ์ดี จำกัด.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2566). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร,

(2), 49 - 56

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา เอกสารประกอบการสอนวิชา 354517 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานประจําปี 2554. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Han, J. H., Kelley, T. R., & Knowles, J. G. (2021, May 4). Factors Influencing Student STEM Learning: Self-Efficacy and Outcome Expectancy, 21st Century Skills, and Career Awareness. Journal for STEM Education Research, 4(2), 1 - 21