การศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กจำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 274 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมา คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่าโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการทดสอบรายคู่ พบว่า ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นต่อปัญหาสูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 - 10 ปี และผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 - 10 ปี ความคิดเห็นต่อปัญหาสูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.