การศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารและครู ที่มีต่อสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 297 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ตามวิธีการของ
เชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า
- สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีสภาพการปฏิบัติสูงที่สุด คือ การประเมินและรายงานผล รองลงมาคือ การปฏิบัติการนิเทศ การวางแผนการนิเทศ การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ และการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ ตามลำดับ
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.