สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานของ การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ชัชชัย คำน้อย
อัครวัฒน์ บุปผาทวีศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงาน การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการดำเนินงาน การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน ครูผู้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คน ครูที่ไม่ได้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คน รวมทั้งสิ้น 309 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan กลุ่มตัวอย่างได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ 1. แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ในการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 2. แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญ ความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index ผลการวิจัยพบว่า


            1) สภาพปัจจุบันของในการดำเนินงาน การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของในการดำเนินงาน การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม เรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการมีส่วนร่วมในการเรียนรวม และด้านกระบวนการบริหาร ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
คำน้อย ช., & บุปผาทวีศักดิ์ อ. (2024). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานของ การจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(2), 67–78. https://doi.org/10.2822.EAI202421189
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกําหนดประเภทและหลักเกณฑของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ.

จาตุรงค์ เจริญนำ. (2559). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนเรียนรวมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น .(พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

บุญยิ่ง สายเมฆ. (2555). รูปแบบการดำเนินการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิผลสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2551, (23 มกราคม 2551).ราชกจิจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 22ก. หน้า 2.

พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนบ้านลำมะโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 588 – 603.

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2564). การดำเนินงานจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาเขตอีสาน, 2(3),

-50.

วิลาวัลย์ วงศ์คุณาโรจน์. (2545). การศึกษาการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมระหว่างเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติของครูประจำชั้นและผู้บริหารโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาจังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). ข้อมูลบุคลากร” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567.

เลื่อมใส ใจแจ้ง. (2546). สมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

ศรียา นิยมธรรม. (2551). การศึกษาพิเศษ สารานุกรมศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

สมพร หวานเสร็จ.(2547). การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญาโดยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9. รายงานผลการวิจัยผลงานระดับผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ.

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษาแนะนำ ปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช.). ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหารทั่วไป). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชิต บุญมาก. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรทัย แสนชัย. (2559). การจัดการการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 10(2), 251-259.

Krejcie, V. R. and W. D. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement,30(3), 607-610.