สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

คณายุทธ แสนสิทธิ์
อัครวัฒน์ บุปผาทวีศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 78 คน และครู 181 คน รวมทั้งสิ้น 259 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มี 2 ฉบับ คือ 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นโดยรวมเท่ากับ .041 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีจำนวน 1 ด้าน ที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม คือ ด้านที่ 3 การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ

Article Details

How to Cite
แสนสิทธิ์ ค., & บุปผาทวีศักดิ์ อ. (2024). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(2), 42–53. https://doi.org/10.2822.EAI202421188
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ.(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กิริญณภา หนูอินทร์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 33-39.

กัลยาณี พันโบ. (2564). แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียน ในสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 12(2), 111-126.

จิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง. (2565). กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา).

มหาวิทยาลัยสยาม.

ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ทรงวุฒิ วีเปลี่ยน, ศิริพงษ์ เศาภายน, และจารุวรรณ พลอยดวงรัตน์ (2566). แนวทางการบริหารโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC). วารสารวิจยวิชาการ. 6(6), 301 – 316.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น .(พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปานหทัย ธรรมรัตน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ลัดดา ภู่เกียรติและคณะ. (2562). แนวทางการสร้างโรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566,จาก https://www.satitpattana.ac.th/web/news/public_ksp_OneSchoolOne Innovation2560/Guide_to_Creating_School_Community_Learning.pdf.

วิทยากร เชียงกูล. (2550). สภาวะการศึกษาไทยปี2549/2550 การแก้ปัญหาและการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สงบ ลักษณะ. (2545). แนวทางการทำแผนการสอน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภาวดี ลาภเจริญ, วิสุทธิ์วิจิตรพัชราภรณ์,และอัจฉรา นิยมาภา. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผล ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 81-98.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2562). ชั้นเรียนคือพื้นที่ที่ทรงพลังของการพัฒนาวิชาชีพครู. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จากhttps://adaybulletin.com/talk-guest-lifelong-learning-athapol-anunthavorasakul/42460.

Dewey, J. (1927). The public and its problems. New York : H. Holt and Company.

Sato, M. (2016). Enhancing Collaborative Learning: Challenges of School as Learning Community. Thailand : Keynote for EDUCA2016.