สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

ชาญชัย ภูมิประเสริฐ
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน และครู จำนวน 189 คนรวมทั้งสิ้น 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัจจุบันการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ระหว่างขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ โดยภาพรวมแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) แนวทางแก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา ทำให้เห็นบทบาทของบุคลกรในสถานศึกษาในการจัดการขยะมูลฝอย ทำให้เกิดผลดีต่อสถานศึกษาชุมชน คือ ก่อเกิดการจัดการขยะที่ถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี หรือลดการผลิตขยะ ในขณะที่เดียวกันก็ก่อเกิดผลต่อสังคมคือ เป็นการสร้างความรับผิดชอบและจิตสำนึกในทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง

Article Details

How to Cite
ภูมิประเสริฐ ช., & เขียวน้ำชุม จ. (2024). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(2), 54–66. https://doi.org/10.2822.EAI202421187
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). คู่มือประชาชนการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มคุณค่า. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560 – 2564. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2555). สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม คู่มือ 3RS กับการจัดการของเสียในโรงงาน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

กรมอนามัย. (2560). สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม คู่มือ แกนนำชุมชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม วงศ์ศิริ. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปริยวิศว์ วงษ์จันทร์. (2565). รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ,3(3),1-30.

ปานิพรรณ เทพศร. (2560). การดำเนินงานตามนโยบายด้านการจัดการขยะของสถานศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรพล ไตรทิพย์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูธนภัส พุ่มไม้. (2560). การจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดตาก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ,16(2),116-124.

สุณิสา ดีนาง. (2561). ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำชุมชน ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(ฉบับพิเศษ),73-85.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). แผนหลัก สสส. 2561-2563 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/16191.

อภิชิต กองเงิน. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(1), 55-64.