ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

อำภา คงพินิจ
สมชัย ชวลิตธาดา
วิเชียร อินทรสมพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation) วิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอนโดยวิธี Stepwise (StepwiseMultiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


               1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการสร้างชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการให้บริการ ส่วนด้านการเป็นผู้ฟังที่ดี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายข้อ พบว่า ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 3) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร เรียงตามลำดับอิทธิพลจากมากไปหาน้อยดังนี้ การสร้างชุมชน (X10) และการอุทิศตนเพื่อพัฒนาบุคคล (X9) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ได้ร้อยละ 47.00

Article Details

How to Cite
คงพินิจ อ., ชวลิตธาดา ส., & อินทรสมพันธ์ ว. (2024). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(2), 17–29. https://doi.org/10.2822.EAI202421069
บท
บทความวิจัย

References

กนกกร ศิริสุข. (2557). ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

กมลชนก ศรีสุดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตาม มาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. (2562), (2562 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 68ง. น. 18-20.

ชนิดา คงสำราญ. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขวัญชนก เจตชาลา. (2562). คุณลักษณะองค์การกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุวรรณ วิจิตรวงศ์วาน. (2556). การตัดสินใจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ญาณี ศรีดวงใจ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ณัฐฏ์นันท์ ฐานเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์เขต2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฎฐา ปัทมานุสรณ์. (2564). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐิดา เดชอัคคณัฐ. (2565). คุณลักษณะความไว้วางใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยธนบุรี.

นิตยา อุ่นละม้าย. (2562). การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ). วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรทิพย์ เพ็งกลัด. (2560). การสื่อสารของผู้บริหารกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ จันทรัศมี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้บริหาร สถานเอกชน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

คมธนู ควรประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนในเครือเชนต์มารีอา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2557). ภาวะผู้นำแบบบริการ : แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

อภิชาติ อนันตภักดิ์. (2558). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Robert K. Greenleaf. (2002) Servant leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. New Jersey: Paulist Press.