ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

รุ่งนภา รักสม
สมชัย ชวลิตธาดา
วิเชียร อินทรสมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 337 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า


1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมิตรภาพและการยอมรับ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด   2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมิตรภาพและการยอมรับ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านคุณค่าของงาน ส่วนด้านความมั่นคง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง ซึ่งเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคลมีความสัมพันธ์กับความท้าทายและความหลากหลายในงาน มากที่สุด รองลงมาการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคลมีความสัมพันธ์กับมิตรภาพและการยอมรับ ส่วนการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ดี น้อยที่สุด

Article Details

How to Cite
รักสม ร., ชวลิตธาดา ส., & อินทรสมพันธ์ ว. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(2), 30–41. https://doi.org/10.2822.EAI202421068
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือวิทยากร Module การพัฒนาสมรรถนะหลักสูตรพัฒนาครูและศึกษานเทศก์ผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอํานาจ. กรุงเทพมหานคร.

กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา หาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วี พริ้น (1991).

บัณฑิต แท่นพิทักษ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ อำนาจ ความศรัทธา และความพึงพอใจในการทำงาน ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6.

กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักส์.

ภคมน ทิฆัมพรบรรเจิด (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.1(2). 18-36.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ผลการฝึกอบรมกาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์).

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ชีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

ศุภศาสตร์ พลคำ (2563).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาตะเคียนลมศักดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 4(3), 264-273

สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวง ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือวิทยากร Module การพัฒนาสมรรถนะหลักสูตรพัฒนาครูและศึกษานเทศก์ผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอํานาจ. กรุงเทพมหานคร.

Bass, B.M. and Avolio, B.J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA : Sage.

Burns, J.M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row. Weiten, W. and Lloyd, M.A. 2003. Psychology Applied to Modern Life: Adjustment in the 21st Century. 7th ed. California: Wadsworth Thomson Learning.