นวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัญญาประดิษฐ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัญญาประดิษฐ์ โรงเรียนบ้านป่าไร่หลวงวิทยา(ตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์9) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน จำนวน 59 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญผลการศึกษา พบว่า
นวัตกรรมในการบริหารจัดการหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของโรงเรียนบ้านป่าไร่หลวงวิทยา(ตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 9) ที่สอดคล้องกับยุคปัญญาประดิษฐ์ ได้มาซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ 4 มิติ ขององค์การ คือ มิติ ที่ 1 ด้านประสิทธิผล มี 2 ยุทธศาสตร์ มี 4 โครงการ มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มี 4 ยุทธศาสตร์ มี 6 โครงการ มิติ ที่ 3 ด้านประสิทธิภาพกระบวนการภายในมี 3 ยุทธศาสตร์ มี 4 โครงการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร และบุคลากร มี 3 ยุทธศาสตร์ มี 4 โครงการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเวศ เวชชะ. (2561). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงราย: ห.จ.ก.ปี้ & น้อง.
ประเวศ เวชชะ. (2562). การบริหารหลักสูตรการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). เชียงราย: หจก.ปี้ & น้อง.
ประเวศ เวชชะ. (2562). เอกสารคำสอน. การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประเสริฐ ศิริโสภณ. (2564). การบริหารจัดการเชิงรุกด้านการศึกษา. วารสารการศึกษาไทย, 4(2), 1-14.
ปุญณิศา ไทยช่วย. (2564). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 กับ แนวคิด Education 4.0. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.senate.go.th/commission_meeting/readfile/73770/16409/2092/15489
พระพีระยุทธ วชิราวุโธ. (2561). การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์. เชียงราย: (การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิชิต บัณฑิตวิศาล. (2562). การบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาหลักสูตร. ม.ป.ท.
โรงเรียนบ้านป่าไร่หลวงวิทยา(ตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 9). 2565. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา2565-2569. เชียงราย. พิทักษ์ชัย การพิมพ์.
วรภัทร โตธนะเกษม. (2541). การสร้าง Good Governance ในภาคเอกชน. วารสารนักบัญชี, 44(3), 7-14.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566, จาก https://sgs.bopp-obec.info/menu/Data/ CD_Book1.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พศ.2560-2579. กรุงทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
อรวรรณ ศิริวงค์. (2566). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในยุค Digital ของโรงเรียนฝางธรรมศึกษา. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 69 – 92.
Kaplan R. S. & Norton D. P. (1992). The balanced scorecard: Translating strategy into action. Harvard Business Review 70(1).
Russell, B. (2022). Advancements in Artificial Intelligence. Journal of Technology and Innovation, 5(2).