การปฏิรูปการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา

Main Article Content

สถาพร เริงธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการนำเอาหลักการสำคัญของศาสตร์พระราชา จำนวน 3 หลักการ ได้แก่ หลักภูมิสังคม หลักการระเบิดจากข้างใน และหลักการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาศึกษาร่วมกับแนวคิดการบริหารการปกครองท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับ “การสร้างพื้นที่กลาง หรือพื้นที่สาธารณะ” ที่ทุกฝ่ายในท้องถิ่นจะสามารถเข้ามาร่วมกับปฏิบัติงาน และรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มาประกอบสร้างเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล การศึกษานี้จะใช้วิธีการเลือกพื้นที่วิจัยแบบเจาะจง โดยจะทำการคัดเลือกเอาองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบลในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 จังหวัด ๆ ละ 5 แห่ง ได้แก่ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร และบึงกาฬ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มองค์กรชุมชน และกลุ่มประชาชนที่เคยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จากการศึกษา พบว่า ภายหลังจากที่องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบลทุกแห่งได้มีการนำเอาแนวทางการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการบริหารงานที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลายประการ โดยได้มีการปรับปรุงรูปแบบ และวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรฯ ทางด้านการเพิ่มความสัมพันธ์กับองค์กรชุมชนและประชาชนในพื้นที่ โดยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้โอกาสองค์กรชุมชนและประชาชนเข้ามารับผิดชอบภารกิจในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดยการดำเนินงานดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและให้คำแนะนำของหน่วยงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ๆ  

Article Details

How to Cite
เริงธรรม ส. . (2023). การปฏิรูปการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(1), 42–55. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/272
บท
บทความวิจัย

References

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2560). ยั่งยืน มีความสุขจากประโยชน์สุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง: หนึ่งทศวรรษครึ่งแห่งการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (2547-2559). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Altieri, M. A. & Masera, O. (1993). Sustainable rural development in Latin America: Building from the bottom-up. Ecological economics, 7(2), 93-121.

Andrews, M. & Shah, A. (2003). Citizen-centered governance: A new approach to public sector reform. In Shah Anwar (Ed.), Handbook on public sector performance reviews (vol.3, pp. 6.1-6.36). The World Bank.

Cooper, T. L., Bryer, T. A. & Meek, J. W. (2006). Citizen-centered collaborative public management. Public administration review, 66(1), 76-88.

Denhardt, R. B. & Denhardt J. V. (2000). The new public service: Serving rather than steering. Public administration review, 60(6), 549-559.

Fung, A. & Wright, E. O. (2001). Deepening democracy: Innovations in empowered participatory governance. Politics & society, 29(1), 5-41.

King, C. S., Feltey, K. M. & Susel, B. O'Neill. (1998). The question of participation: Toward authentic public participation in public administration. Public administration review, 58(4), 317-326.

Ostrom, E. (1996). Crossing the great divide: Coproduction, synergy, and development. World development, 24(6), 1073-1087.