ภูมิปัญญาตะวันตกและภูมิปัญญาตะวันออก

Main Article Content

อภิชัย พันธเสน

บทคัดย่อ

ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่สะท้อนความรู้ของมนุษย์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาได้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ความแตกต่างของภูมิปัญญามนุษย์ในแต่ละภูมิภาคมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคม ภูมิปัญญาตะวันออกและภูมิปัญญาตะวันตกในอดีตจนถึงปัจจุบันก็มีลักษณะเช่นนั้น ที่มาของภูมิปัญญาดังกล่าวในระดับสากลเริ่มต้นมาประมาณ 3,000 ปีแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะภูมิปัญญาที่สำคัญล้วนเกิดมาในเขตอบอุ่นและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสำหรับมนุษย์ไม่ต่างกันมากนัก แต่เมื่อชนชาติตะวันตกเข้าไปอาศัยในเขตหนาวมากขึ้น ขณะที่ชนชาติตะวันออกอาศัยอยู่บริเวณเขตร้อนเพิ่มขึ้น ภูมิปัญญาตะวันตกจึงมุ่งเอาชนะธรรมชาติด้วยการเน้นการศึกษาภายนอกอย่างลึกซึ้งและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะธรรมชาติที่โหดร้าย ส่วนมนุษย์ในภาคตะวันออกไม่จำเป็นต้องเอาชนะธรรมชาติ เนื่องจากสามารถใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติได้อย่างสบาย แต่กลับมีปัญหาความไม่สงบสุข เริ่มจากสังคม ครอบครัว จนถึงปัจเจกบุคคล ซึ่งทำให้ต้องมองเข้าไปค้นหาปัญหาจาก “จิต” ของตนเอง เป็นผลให้มีความแตกต่างระหว่างภูมิปัญญาตะวันตกและภูมิปัญญาตะวันออกที่ฝ่ายหนึ่งเน้นเรื่องภายนอกและเทคโนโลยี จึงมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ขณะที่ตะวันออกนั้นพยายามเรียนรู้ภายใน “จิต” ของตนเองและสังคม จะมีความเหนือกว่าทางด้านนวัตกรรมสังคม


          ในปัจจุบันนวัตกรรมเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่มนุษย์ก็ยังรู้สึกว่าไม่มีความสุข ทำให้โลกตะวันตกหันมาสนใจความรู้ทางตะวันออกมากขึ้น ขณะที่ตะวันออกเองก็ได้เรียนรู้เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีจากตะวันตกเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้จึงยากที่จะจำแนกภูมิปัญญาตะวันตกและภูมิปัญญาตะวันออก แต่มีแนวโน้มที่ภูมิปัญญาทั้งสองภูมิภาคจะเข้ามาสู่จุดที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นในอนาคต

Article Details

How to Cite
พันธเสน อ. . (2023). ภูมิปัญญาตะวันตกและภูมิปัญญาตะวันออก. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/269
บท
บทความวิชาการ