นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

วรรณา ประยุกต์วงศ์
กิตติคุณ หมู่พยัคฆ์
เปล่งสุรีย์ เที่ยงน้อย
ธนากร เที่ยงน้อย
ทศพล ปรีชาศิลป์

บทคัดย่อ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (2489-2559) พระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศกพ.) ให้ชาวไทย พอเพียงเป็นความสมดุลระหว่างความมีเหตุผลและความพอประมาณในกิจกรรมเศรษฐกิจ (ผลิต แลกเปลี่ยน และบริโภค) จากการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภายในและภายนอก ศกพ. จึงเป็นทางสายกลาง แนวทางปฏิบัติให้กับบุคคล ครอบครัว องค์กร จากทุกภาคส่วนของสังคมรวมถึงภาครัฐ ที่มีความรู้ ครอบคลุมถึง ความรอบรู้ (ปัญญา) รอบคอบ (สติ) และระมัดระวัง (สติ) และคุณธรรมประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร และเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้บรรลุทางสายกลางดังกล่าว บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการนำ ศกพ. วิธีการสำหรับนวัตกรรมสังคมเพื่อการส่งมอบการบริการภาครัฐที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 3 แห่ง หรือกรณีศึกษา ศึกษาด้วยการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่มเฉพาะ การสัมภาษณ์ และการลงพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า 1) อบต. สร้างนวัตกรรมในการเปลี่ยนมูลสุกรเป็นพลังงานสะอาด (ก๊าซหุงต้ม) และต่อยอดสร้างรายได้ด้วยการขายคาร์บอนเครดิต 2) อบต. จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ และ 3) อบต. สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่จัดทำกิจกรรมกำจัดขยะที่ต้นทางโดยไม่รอการดำเนินการจากภาครัฐส่วนกลาง ทั้งสามกรณีศึกษานั้นเกิดขึ้นจากนายก อบต. ที่มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีความสามารถในการประกอบการ และยังได้จัดกระบวนการเรียนรู้จากการประกอบการดังกล่าวให้กับประชาชน บุคลากร และผู้นำภายในพื้นที่ มาร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สุขให้กับประชาชน

Article Details

How to Cite
ประยุกต์วงศ์ ว. ., หมู่พยัคฆ์ ก., เที่ยงน้อย เ. ., เที่ยงน้อย ธ. ., & ปรีชาศิลป์ ท. . (2023). นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(1), 56–71. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/257
บท
บทความวิจัย

References

Berman, E. M. & Kim C. (2010). “Creativity management in public organizations: Jump-starting innovation.” Public performance & management, 33 (4), 619-652.

O'Byrne, L., et al. (2014). "Social innovation in the public sector: The case of Seoul Metropolitan government." Journal of economic & Social studies (JECOSS), 4(1), 53-71.

Petmark, P. (2007). The development of community welfare fund in Thailand, and the role of related agencies. Https://en.codi.or.th/wp-content/plugins/download-attachments/includes/download.php?id=884.

Sarasvathy, S. D. (2001). “Causation and effectuation: Toward a theoretical shift from economic inevitability to entrepreneurial contingency.” The academy of management review, 26 (2), 243-263.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2554). ชุมชน ท้องถิ่น น่าอยู่อย่างเพียงพอด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน. กรม.

จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. (2548). วิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

บุษยา มั่นเลิศ. (2556). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2560). วิเคราะห์บริบทความท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ 4.0. อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(1), 63-78.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2558). บทเรียนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

มยุรี ทรัพย์เที่ยง และวาสิตา ประสพศักดิ์. (2559). การค้นหานวัตกรรมท้องถิ่นในจังหวัดภาคกลางตามภารกิจการกระจายอำนาจของไทย. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 137-148.

วรรณา ประยุกต์วงศ์ และคณะ. (2566). นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ระยะที่ 3. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2560). ผลึกความคิด...การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่มที่ 1. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2).

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9. มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิชัย พันธเสน. (2565). แผนงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั่วประเทศไทย สู่การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและประโยชน์สุข ในระดับพื้นที่โดยการหนุนเสริมด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.