ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย

Main Article Content

ชญานิศ ประทุมรัตน์
สุชาติ ปรักทยานนท์
บุรพร กำบุญ
ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรมลิสเรล


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านเครือข่ายความร่วมมือ การจัดการสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน แรงผลักดันทางธุรกิจ การฝึกอบรมและพัฒนา มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดล ผลการวิเคราะห์มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย ได้แก่ เครือข่ายความร่วมมือ การจัดการสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน แรงผลักดันทางธุรกิจ การฝึกอบรมและพัฒนา และ 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันเมื่อพิจารณาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของการปรับโมเดล

Article Details

How to Cite
ประทุมรัตน์ ช., ปรักทยานนท์ ส., กำบุญ บ., & แก้วนิล ท. (2025). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย. วารสารปราชญ์ประชาคม, 3(1), 15–29. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1804
บท
บทความวิจัย

References

จีรวรรณ ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2553). ขีดความสามารถในการแข่งขันของร้านค้าปลีกรายย่อยในจังหวัด

เชียงใหม่ https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457

/MJU.the.2010.14

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2561). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สำนักพิมพ์วี. พริ้นท์.

มนต์สินี สุปินะ. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อนำเข้าและ

ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ

บริหารการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มนัสนันท์ พงษ์ประเสริฐชัย. (2550). การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อมของไทย ตามแนวคิดฐานทรัพยากร กรณีศึกษากลุ่มผู้ประกอบการสินค้า

ประเภทอาหารเพื่อการส่งออก. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/RU.the.2007.128

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการ ยุคโลกาภิวัฒน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลณัฐ เกิดเจริญ, เบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ และเตือนใจ แสงทอง. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ

ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า และส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. สหวิทยาการ

และความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 274–287. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.42

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปี

สำนักงาน.

อนัญญา จำปาทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์

ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี). คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/3032

Garg, A. and Deshmukh, S.G. (2006) Applications and case studies maintenance management:

Literature review and directions. Journal of Quality in Maintenance Engineering, 12,

-238. http://dx.doi.org/10.1108/13552510610685075

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate data analysis (7thed.).

Pearson.

Kaplan, R. S., and Norton, D. P. (1996). The balanced scorecard: Translating strategies into

action. Harvard Business School Press.

Najib, M., Farida, R. D., Widtyastuti, H. (2014). Collaborative networks as a source of

innovation and sustainable competitiveness for small and medium food processing

enterprises in Indonesia. International Journal of Business and Management, 9(9),

-160.

Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and

competitors. Free Press.

Kemp, R. & Horbach, J. (2008). Measurement of competitiveness of eco-innovation.

European: MEI.