ทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณ: ศึกษาและตีความทางสังคม

Main Article Content

มานพ นักการเรียน
พระมหาวีระชาติ โปธา
วิญญู กินะเสน
บานชื่น นักการเรียน
ฉัชศุภางค์ สารมาศ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาอาณาจักรทวารวดีในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ สังคมและศาสนา สุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ พระอุตตรเถระ ผู้มาพร้อมกับพระโสณเถระ ได้กลายเป็นหลวงปู่เทพโลกอุดร และยังดำรงสังขารขันธ์อยู่เพื่อดูแลพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นอาณาจักรทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 โดยมีศูนย์กลางที่นครปฐมโบราณ มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเมืองโบราณต่าง ๆ และมีการนับถือทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์


          กษัตริย์ทวารวดีได้ทรงดำเนินตามนโยบายธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ปฏิบัติตามคติพระเจ้าจักรพรรดิในพระพุทธศาสนา แต่ก็ผสมผสานกับคติจักรพรรดิในศาสนาพราหมณ์ ทรงใช้รัฐประศาสโนบายในทางเศรษฐกิจ โดยไม่มีการเก็บภาษี จึงทำให้สังคมรัฐมีความมั่งคั่ง ความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ โดยมีธรรมวิชัยนั้นเป็นแกนหลักแห่งการปกครอง


          สังคมในทวารวดีจากภาพปูนปั้นและจารึกสะท้อนถึงการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ผู้คนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองได้ เป็นสังคมของการทำบุญสร้างกุศลในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีการผสมผสานทางคติความเชื่อระหว่างพระพุทธศาสนา และความเชื่อดั้งเดิมเรื่อง “ผี” เป็นสังคมแห่งการมีความกตัญญูกตเวทีและการมีความเมตตา เป็นสังคมแห่งการบำเพ็ญทานบารมี โดยมุ่งไปที่ “มหาบริจาค” คือการบริจาคใหญ่ และเป็นสังคมที่มีเป้าหมายแห่งการปฏิบัติเพื่อให้สิ้นทุกข์สิ้นกิเลสอย่างสิ้นเชิง

Article Details

How to Cite
นักการเรียน ม., โปธา พ., กินะเสน ว., นักการเรียน บ., & สารมาศ ฉ. (2025). ทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณ: ศึกษาและตีความทางสังคม. วารสารปราชญ์ประชาคม, 3(1), 70–85. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1722
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2542). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2506). เรื่องพระปฐมเจดีย์. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.

ข่าววาไรตี้. (2559). เจาะตำนานหลวงปู่เทพโลกอุดร. https://www.tnews.co.th/ (6 ธันวาคม 2566)

คลังความรู้สุวรรณภูมิ. (2565). จารึกวัดพระงาม. https://suvarnabhumi.psu.ac.th/ (6 ธันวาคม 2566)

นันทนา ชุติวงศ์. (2520). ภาพชาดกที่เจดีย์จุลปะโทน. นิตยสารศิลปากร, 21(4), 34.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). จารึกอโศก. สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2517). พุทธศาสนนิทานที่เจดีย์จุลประโทน. โรงพิมพ์พระจันทร์.

ผาสุก อินทราวุธ. (2542). ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. โรงพิมพ์อักษรสมัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2562). ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงใหม่). สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2566). ข้ามคาบสมุทรในห้วงแห่งสุวรรณภูมิ. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2566). จารึกในประเทศไทย. https://db.sac.or.th/inscriptions/

สฤษดิ์พงศ์ ขนุทรง. (2557). โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. บริษัท

เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2559). โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุนันทา เอ๊าเจริญ. (2563). โต้ง: หมอพื้นบ้านทวารวดีกับวิถีอดีตสู่สาธารณสุขปัจจุบัน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 1-12.

เสฐียร โกเศศ. (2515). นิยายปาชาแห่งเตอรกี. แพร่พิทยา.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี. (2541). คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง. กรมศิลปากร.

หวัง เหว่ยหมิน. (2535). สถานที่ในเอกสารจีนโบราณที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย. โอเดียนสโตร์.

อุษา ง้วนเพียรภาค. (2548). โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. ส.พิจิตรการพิมพ์ จำกัด.

Kapur, A. (2019). Mapping place names of India. Taylor & Francis.

Vimut, D. (2553). หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่เทพโลกอุดร. https://dhavavimut./

Human Excellence. (2565). มหาภารตยุทธ. http://huexonline.com/

Reid, S. (1994). The Silk and Spice Routes: Inventions and Trade. Paris: Belita Press.

Si-Yu-Ki. (1884). Buddhist Records of the Western World. Translated from the Chinese of Hiuen Tsiang Vol.II, 199-200. London: Trubner & Co., Ludgate Hill.

Yamamoto, T. (1979). East Asian Historical Sources for Dvaravati Studies. Proceeding Seventh IAHA Conference vol. II, 1140. Bangkok: Chulalongkorn University Press.