ศูนย์เรียนรู้ชุมชนการจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หมอกควันและไฟป่า เป็นปัญหาวิกฤตของจังหวัดลำปางที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นำมาซึ่งโรคต่าง ๆ หลายกลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ตาอักเสบและผิวหนังอักเสบ เป็นต้น สาเหตุหลักเกิดจากการเผาป่า การลักลอบเผาหญ้าและเศษผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวในพื้นที่เกษตร หน่วยจัดการร่วม สสส. ระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโดยสนับสนุนงบประมาณแก่หมู่บ้านบริเวณรอบดอยพระบาท เขตอุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพตให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม “บ้านไร่พัฒนา” หมู่ 7 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จ กล่าวคือ 1) สามารถลดการเผาได้ร้อยละ 100 2) ได้รับการพัฒนาเป็น “ต้นแบบ” ศูนย์เรียนรู้การลดการเผาป่าและพื้นที่เกษตร 3) ใช้ฐานข้อมูลเชื่อมโยงกับข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการควบคุมไฟป่าจังหวัด และ 4) ผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารสาธารณะหลายช่องทาง เพื่อสร้างการรับรู้และยกระดับกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายและเครือข่าย ผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักรักษ์ป่า และเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำแนวกันไฟ การสร้างฝายชะลอน้ำ การระดมทุนเข้ากองทุนภัยพิบัติหมู่บ้าน ทำให้กองทุนเติบโตขึ้นสามารถใช้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับป่าได้ตลอดทั้งปี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์ฝุ่นควันและไฟป่า ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ลำปาง แพร่ พะเยา และน่าน. https://www.shorturl.asia/TCmyd
เกษวรางค์ ลีลาสิทธิกุล, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์, ศศิภา บูรณะพันธฤกษ์, ขจรศักดิ์ พงษ์พานิช, และพัชรี คุณค้ำชู. (2561.) ผลจากหมอกควันและมลพิษทางอากาศต่อระบบหัวใจและทางเดินหายใจ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18(3), 339-348.
ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์, รวิภา ธรรมโชติ, ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, และ จิรวรรณ เดชานิพนธ์. (2560). เครือข่ายการป้องกันปัญหาหมอกควันในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 41-53.
นันทวดี ปินปันคง, จักรภพ ธาตุสุวรรณ, เจษฎากร โนอินทร์, ลำปาง แสนจันทร์, ชาญณรงค์ ชัยสุวรรณ และปทุมรัตน์ ศรีพันธุ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาหมอกควันของประชาชนในพื้นที่ชุมชน: กรณีศึกษาบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน. วารสารควบคุมโรค, 48(1), 62-72.