การวิเคราะห์พญาแถนตามแนวคิดเรื่องเทพในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพญาแถนตามแนวคิดเรื่องเทพในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า พญาแถน เป็นความเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษที่สร้างวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาและคติความเชื่อที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทย และพญาแถนแบ่งเป็น 2 ประเภทตามบทบาท คือ 1) แถนหลวง เป็นเทพผู้สูงสุด เป็นผู้สร้างโลก มนุษย์ และสรรพสิ่ง และ 2) แถนบริวาร เป็นเทพที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของพญาแถน ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทได้แบ่งเทพเป็น 3 ประเภท คือ 1) สมมติเทพ เทพโดยสมมติขึ้น 2) อุปปัตติเทพ เทพโดยกำเนิด และ3) วิสุทธิเทพ เทพโดยความบริสุทธิ์ เทพในที่นี้หมายถึงอุปปัตติเทพ ผู้ที่ถือกำเนิดเทวภูมิ ประกอบด้วย เทวโลกชั้นกามาวจรภูมิ 6 ชั้น และพรหมโลก 20 ชั้น มี รูปาวจรภูมิ 16 ชั้นและอรูปาวจรภูมิ 4 ชั้น อุปัตติเทพเกิดขึ้นจากผลของกุศลกรรม มีการรักษาศีลกรรมบถและการเข้าถึงฌานสสมาบัติ ซึ่งพญาแถนตามแนวคิดเรื่องเทพในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปได้ว่า แถนหลวงหรือพญาแถนหมายถึงพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และแถนบริวาร หมายถึง ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ส่วนแถนที่สามารถให้คุณและโทษทั้งในด้านดีและด้านร้ายเทียบได้กับท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทพผู้ปกครองในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2506). ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ก้าวหน้า.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2535). ระบบการแพทย์พื้นบ้านในชนบทไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมไทย.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. เอกสารประกอบการศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน. มหาสารคาม: ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,.
ดนุพล ไชยสินธ์. (2524). ขุนบรม. เลย: วิทยาลัยครูเลย.
ทองสืบ ศุภะมาร์ค. (2528). พงศาวดารลาว. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2535). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮ้า.
ธวัช ปุณโณทก. (2530). วัฒนธรรมพื้นบ้าน: ความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย, กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ผ่าน วงษ์อ้วน. (2525). พญาคันคาก. ศูนย์วัฒนธรรม วค. มหาสารคาม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระนรินทร์ สีลเตโช. (2561). การวิเคราะห์พัฒนาการแนวคิดเรื่องพรหมในยุคพระเวทและยุคอุปนิษัท. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎิบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ 9). (2544). ภูมิวิลาสินี, ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ.9) 29 เมษายน 2544. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์). (2534). นรกและสวรรค์ในพุทธปรัชญาเถรวาท.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาโสฬส ชนุตฺตโม. (2559). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพรหมันในปรัชญาเวทานตะตามทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยาประชากิจกรจักร. (2507). พงศาวดารโยนก. พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
ภีรนัย โชติกันตะ. (2531). นิยายปรัมปราเรื่องแถน: วิเคราะห์ความเชื่อตามพงศาวดารล้านช้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2521). นิทานเรื่องท้าวผาแดง-นางไอ่และประเพณีบุญบั้งไฟ. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ ไชยขันธ์. (2556). ภูไทลูกแถน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
สุเทพ ไชยขันธ์ . (2557). นิทานพญาแถน แก่นตำนานอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
อุดม บัวศรี. (2546). วัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.