เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw <p><strong> นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์ กำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p><strong> กระบวนการพิจารณาบทความ :</strong> บทความที่เผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ</p> <p><strong>ประเภทของบทความ : </strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย</li> <li>บทความวิชาการ</li> <li>บทวิจารณ์หนังสือ</li> </ol> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong> ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร : </strong></p> <p>วารสารกำหนดวงรอบการเผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม </p> <p> </p> <p><strong>การติดต่อประสานงานและส่งบทความเผยแพร่ :</strong></p> <ol> <li>สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น เช่น รอบการเผยแพร่ หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ เป็นต้น โทร. 084 886 8052; 092 746 7383</li> <li><a title="คำแนะนำสำหรับผู้เขียน" href="https://docs.google.com/document/d/1HZe4BZqdNIDHpKZkF2GqhMEbEWyvGSVDhB8lwslInb8/edit">Clik คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทความวิจัย" href="https://docs.google.com/document/d/11QtbGqpwUl_MX0O6E7UFg3H-zakB0HAXgI9b9wiruKA/edit">Clik เทมเพลตบทความวิจัย</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทความวิชาการ" href="https://docs.google.com/document/d/10zZKlrC7Zh0Gdcbx24_xF3M9jiuv0xWZ0cdYjuVHKMY/edit">Clik เทมเพลตบทความวิชาการ</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ" href="https://docs.google.com/document/d/17BG_YZ1W4rA1snOGH-li2Z3WS8iKEJ8b5eWxqyNgS44/edit">Clik เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ</a></li> <li><a href="https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/">Clik ลงทะเบียนวารสาร และส่งบทความในวารสาร </a></li> <li><a title="แบบขอส่งบทความตีพิมพ์" href="https://docs.google.com/document/d/1P5Tqya10fZ1Z-pdYHc-x6k6BDKMcSEqtH3sE-GLwsmU/edit">Clik แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a></li> <li><a href="https://docs.google.com/forms/d/1ydsOy63Vr_X2pvqWOBFLDYDipJ6tu2BH3Z3I76AOdHo/viewform?edit_requested=true">Clik ลงทะเบียนส่งบทความ </a></li> <li>สแกนไลน์ กลุ่มวารสารฯ เพื่อการติดต่อประสานงานเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><img src="https://so12.tci-thaijo.org/public/site/images/setthawit138/mceclip0.png" /></p> <p> </p> th-TH Thu, 15 Feb 2024 16:21:36 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ทำสังฆทานอย่างไรให้ได้บุญ ? https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1058 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การทำสังฆทานอย่างไรให้ได้บุญ การให้ทานถือว่าเป็นหน้าที่ของอุบาสกและอุบาสิกาโดยตรงที่จะต้องให้การอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่ การให้ทานได้แก่ การเสียสละแบ่งปันสิ่งของต่างๆ ของตน การบริจาคโดยไม่คิดเอากลับคืนมา การให้ทานที่จะได้บุญมากนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า การให้ทานของสัตบุรุษมี 5 ประการ คือ ให้ทานด้วยศรัทธา ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานตามกาลอันควร ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ และให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น การถวายสังฆทานถือว่าเป็นการทำบุญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง การทำสังฆทานที่ถูกต้อง ผู้ถวายจะต้องจัดเตรียมของถวายสังฆทาน โดยเป็นของสะอาด ประณีต สามารถนำไปใช้ได้จริง ส่วนใหญ่สิ่งของที่เตรียมมาถวายสังฆทานมักจะเป็นของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพระสงฆ์ การถวายสังฆทานแต่ละครั้งจะต้องถวายด้วยใจที่บริสุทธิ์และด้วยศรัทธา <strong>วิธีถวายสังฆทาน</strong>เริ่มต้นจากการบูชาพระรัตนตรัย กล่าวบทสวดถวายสังฆทานในรูปแบบต่างๆ ก่อนจะประเคนถวายแด่พระสงฆ์ </p> พระครูสุตเจติยาภิบาล, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ, ธนกร ดรกมลกานต์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1058 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทบาทสตรี : ภาวะผู้นำร่วมสมัย https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/741 <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทด้านภาวะผู้นำร่วมสมัยของสตรี ผลการศึกษาพบว่า สตรีมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการองค์การมาโดยตลอด สตรีมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการที่ทำให้มีภาวะความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ความละเอียดรอบคอบ ใส่ใจรายละเอียด และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีทักษะและคุณสมบัติเพิ่มเติมในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และความสามารถในการปรับตัว ผู้นำสตรีที่มีคุณสมบัติเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนองค์การไปสู่ความสำเร็จได้ ด้วยการใช้สติปัญญาอย่างเฉลียวฉลาด มองกว้าง คิดไกลในวิสัยทัศน์ขององค์กร ใฝ่หาความรู้ ใหม่ๆ อยู่ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีศรัทธาและยอมรับ ไว้วางใจ สามารถชักจูงผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันและสามารถนำจริยธรรมมาใช้เป็นพื้นฐานในการคิดและการปฏิบัติก็จะทำให้การดำเนินงานด้านการบริหารประสบความสำเร็จสอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาสังคมในยุคปัจจุบัน สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของสตรีที่เป็นผู้นำในยุคนี้ก็คือการสร้างพันธมิตร ในการหนุนนำองค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์การ และสิ่งสำคัญยิ่งคือการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน เนื่องจากผู้นำไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้เพียงผู้เดียว และควรให้ผู้นำคนอื่น หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการตัดสินใจร่วมกันการเข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าวทำให้ลดความเสี่ยงในการบริหารงานที่อาจจะผิดพลาดให้น้อยลงและช่วยเสริมสร้างและพัฒนาองค์การให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อภิชญา พรรณศรี, ธนกร ดรกมลกานต์, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/741 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประโยชน์ของกรรมฐานสำหรับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1051 <p> กรรมฐานคือ กระยบวนการขัดเกลากิเลสทั้งหลายให้เบาบางลง ตลอดถึงให้มีความสันโดษ พอเพียง พอประมาณในปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ และยารักษาโรค กรรมฐานมีความสำคัญในฐานะเป็นการฝึกฝนตนเองและในฐานะเป็นการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้ฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่องและช่วยให้เป็นผู้มีความอดทนสูง มีจิตมั่นคง แน่วแน่ มักน้อย สันโดษ</p> <p> ประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐานต่อบุคคล คือ กายภาพทำให้เกิดร่างกายแข็งแรง มีกำลังในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้จิตภาพเกิดสติ กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกาย ประโยชน์ต่อสังคมสงฆ์ คือ การปกครองสงฆ์ยึดพระธรรมวินัยมีธรรมะสนับสนุนการดำเนินชีวิตของสงฆ์ การศึกษาของสงฆ์มีคันถธุระและวิปัสสนาธุระ การปฏิบัติของสงฆ์ทำให้เกิดสมาธิ ความอดทน และระงับราคะ โทสะ โมหะ ภิกษุสงฆ์อยู่ร่วมกันด้วยความเมตตาและเอื้อเฟื้อผู้อื่น ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติกรรรมฐานคือ สืบทอด และถ่ายทอดให้ลูกหลานปฏิบัติตาม การเผยแผ่ธรรมสามารถแนะประโยชน์ในชาตินี้ประโยชน์ชาติหน้าและประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน มีการเป็นนักเผยแผ่ธรรมที่ดีพร้อมกับงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดพร้อมนำหลักธรรมมาอธิบายให้เข้าใจยิ่งขึ้น ประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐานในการสงเคราะห์คือ การให้สิ่งของและการให้ธรรม ความยินดีในธรรม ทำให้สิ้นตัณหาชนะทุกข์ทั้งปวง เมื่อเห็นตามความเป็นจริงของชีวิต รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น การถือธุดงค์เป็นการยังชีพ บริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นที่สำรวมแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง</p> พระบุญล้อม จารุธมฺโม, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ, ธนกร ดรกมลกานต์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1051 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/918 <p> การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย เพื่อส่งเสริมให้วัด บ้าน โรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 5ส โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน อันจะก่อให้เกิดพฤติกรรมอัตโนมัติ ผ่านปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การดำเนินงานต่อเนื่องเชิงนโยบาย และกระตุ้นการดำเนินงานตามขั้นตอน 5ส คือ การจัดตั้งคณะกรรมการ 5ส การประกาศนโยบาย 5ส การสำรวจพื้นที่ การจัดทำแผนปรับปรุง การทำความสะอาดใหญ่ ตรวจประเมินพื้นที่ และการสรุปติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ 1) มุ่งสร้างมาตรฐาน 2) สร้างมาตรฐานดี 3) สร้างมาตรฐานดีเด่น และ 4) สร้างมาตรฐานดีเยี่ยม ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งศึกษา 1) แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนของชุมชน “บวร” เข้มแข็ง ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5ส ประกอบด้วย 2.1) การมีส่วนร่วมของ “บวร” ในการคิดวิเคราะห์และวางแผน 2.2) การมีส่วนร่วมในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามกิจกรรม 5ส 2.3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลและรับผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และปัญญา ในปัจจุบันและอนาคต</p> พระครูธรรมธรวรวุฒิ จิตฺตญาโณ (สุวรรณจู), พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์) Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/918 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วยหลักภาวนา 4 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1056 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วยหลักภาวนา 4 บุคลิกภาพทางพระพุทธศาสนา หมายถึง บุคลิกลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หรือแสดงพฤติกรรมที่เป็นกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่มีอยู่ภายในจิต และที่ปรากฏออกมาทางร่างกาย ตามแรงจูงใจหรือแรงผลักดันจากภายในจิต บุคลิกภาพภายนอก หมายถึง บุคลิกลักษณะที่แสดงออกมาทางกายและวาจา และบุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกลักษณะที่มีอยู่ภายในจิตหรืออุปนิสัย การพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนา คือการปรับปรุงบุคลิกภาพภายในเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพภายนอกให้ดีขึ้น และเน้นปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน การพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา คือการปรับปรุงบุคลิกภาพและบุคลิกลักษณะที่ปรากฏภายนอกและภายในให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ต่อไป</p> รมิดา สวนมะไฟ, พระครูวาปีจันทคุณ, ธนกร ดรกมลกานต์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1056 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาอาชีพการเกษตร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/877 <p> อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนทั่วโลกรวมทั้งคนไทย รูปแบบการทำเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัย คือในอดีตเป็นการใช้แรงงาน แต่ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีแทน แนวโน้มการพัฒนาเกษตรกรรมในอนาคต เช่น การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่อาศัยการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) การรวมกลุ่มในทางการค้าและเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆ ในโลก เพื่อใช้อำนาจต่อรองและแข่งขันระหว่าง เป็นต้น จรรณายาบรรณของเกษตรกร เช่น สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค อุปกรณ์และพาหะในการขนย้ายต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค การขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง เป็นต้น กลุ่มหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาชีพการเกษตร ได้แก่ สัปปุริสธรรม กล่าวคือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้ชุมชน และรู้บุคคล โดยสรุปคือหลักการรู้นั่นเอง และหลักการพึ่งตนเอง ได้แก่ ศีล พหูสูต ความขยัน และความสันโดษ </p> พระครูไพโรจน์ญาณโสภณ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/877 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1031 <p><strong> </strong>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อภาคประชาชนจากการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ภาครัฐได้ออกนโยบายให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง มีคำสั่งออกมามากมายให้ภาคประชาชนปฏิบัติตามแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค 2) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และ 3) ด้านการช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตโดยปกติของประชาชน จึงทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ส่งผลกระทบแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศต้องลดลงในทุกภาคส่วน ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียงาน รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น ถูกปรับลดเงินเดือนหรือค่าตอบแทน ถูกเลิกจ้างงาน ไม่มีพื้นที่ค้าขาย เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ภาระหนี้สินในและนอกระบบมากขึ้น กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางเป็นอย่างมาก 2) ด้านสังคม ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมเพิ่มขึ้น ครอบครัวยากจนและกลุ่มผู้เปราะบางต้องเผชิญกับความยากลำบากในชีวิตมากขึ้น การงดกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ งดการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ในช่วงปิดเมืองนั้นที่อยู่อาศัยมีความแออัดเพิ่มมากขึ้น ผู้มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร และ 3) ด้านสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้คนเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ต่อสถานการณ์ระบาดของโรค เกิดความรู้สึกเหงา มีความปริวิตกกังวลทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการเงินทั้งของตนเองและของครอบครัว วิตกกังวลกลัวว่าตนเองและสมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อ สุขภาพที่แย่ลงเนื่องจากไม่มีความสุขหรือมีอาการทางสุขภาพจิต</p> พระปัญญวัฒน์ คุตฺตสีโล (อโนราช), พระสิทธิรักษ์ จนฺทสาโร (หมู่หัวนา), พัชรี ศิลารัตน์, ปัญญา คล้ายเดช, วสันต์ ศรีสอาด Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1031 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 พระสงฆ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1057 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพระสงฆ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาคือการทำให้พระพุทธศาสนาขยายวงกว้างออกไป การดำเนินการเพื่อให้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเผยแพร่ออกไป ทำให้มีผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย น้อมนำเอาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดสันติสุขแก่ผู้ปฏิบัติ เพราะพระพุทธศาสนาบังเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก หัวใจสำคัญของการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนา ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก โดยให้เกิดประโยชน์สุข ตามที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์ 3 ประการ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในชาตินี้) สัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในชาติหน้า) และปรมัตถประโยชน์ (ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน)</p> พระครูปริยัติสันติธรรม, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ, ธนกร ดรกมลกานต์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1057 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 หลักการสงเคราะห์ในมุมมองพระพุทธศาสนา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1012 <p> บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาหลักการสงเคราะห์ในมุมมองพระพุทธศาสนา การสงเคราะห์คือการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในมุมมองพระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2 อย่างได้แก่ 1) อามิสสงเคราะห์ สงเคราะห์อามิสสิ่งของที่จำเป็นในชีวิต และ 2) ธรรมสงเคราะห์การให้หลักธรรมคำสอนเป็นทาน การสงเคราะห์มุ่งให้เกิดผลเป็นการตอบสนองความต้องการของชีวิตและแก้ไขปัญหาของชีวิต ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหาด้านบุคคล 2) การแก้ไขปัญหาด้านสังคม และ 3) การแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ หลักการของการสงเคราะห์ในพระพุทธศาสนามีแบบที่ดำเนินตามธรรมทาน เข่น การถวายทาน การสมาทานศีล การปฏิบัติวิปัสสนาธุระ หลักการของการสงเคราะห์ด้านวัตถุสิ่งของต่อผู้อื่น ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือด้วยปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค คุณลักษณะของผู้ให้การสงเคราะห์ คือ มีความรักที่เป็นกุศลจิต มีจิตเมตตาและกรุณาปรารถนาดี และมีจิตอาสาคิดช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ประโยชน์ของหลักการสงเคราะห์ทำให้คนในสังคมเกิดความสามัคคีและสันติสุข</p> พระมหามีชัย กิจฺจสาโร , พระครูปริยัติพุทธิคุณ , พระมหาวราทิต อาทิตวโร, พระมหาบัวพันธ์ ฉนฺทโสภโณ , พระมหาเศรษฐา เสฏฺฐมโน Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1012 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1025 <p> บทความวิจัยเรื่อง บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ 3) เพื่อบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พระสงฆ์ 5 รูป นักวิชาการ 3 คน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 คน ประชาชนทั่วไป 6 คน รวมจำนวน 20 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาความสอดคล้องจากการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้เป็นเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. แนวคิดทฤษฎีการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การปฏิบัติงานของผู้นำ มีปัญหาด้านโครงสร้างองค์กร บุคคล งบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ 2. หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ประการ คือ (1) ธัมมัญญุตา รู้หลักการ (2) อัตถัญญุตา รู้จุดหมาย (3) อัตตัญญุตา รู้ตน (4) มัตตัญญุตา รู้ประมาณ (5) กาลัญญุตา รู้กาล (6) ปริสัญญุตา รู้ชุมชน และ (7) ปุคคลัญุตา รู้บุคคล 3. บูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของผู้นำ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนงาน 2) ด้านการจัดบุคลากร 3) ด้านการประสานงาน 4) ด้านการรายงานผลงาน และ 5) ด้านการงบประมาณ 4. องค์ความรู้ใหม่ สรุปได้ ดังนี้ “SMT AEW MODEL” กล่าวคือ S = Sappurisa Dhamma หมายถึง หลักธรรมพุทธศาสนา M = Management of local government organization leaders หมายถึง การบริหารงานของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ T = Transparent, verifiable, efficient and effective หมายถึง การบริหารงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพประสิทธิผล</span></p> ธนบรรณ น้ำกระจาย, อุทัย กมลศิลป์, สงวน หล้าโพนทัน Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1025 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/887 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณค่าตราสินค้า และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (2) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวภายในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยคุณค่าตราสินค้า และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.07 และ 4.16 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .965 และ .964 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานะทางครอบครัวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) คุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมาได้ร้อยละ 71.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธนาเดช ธนาธารชูโชติ, ศุภศักดิ์ บุญดี, กนกรส สุดประไพ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/887 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 พัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1181 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากลไกชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและคําสัมภาษณ์ แล้วนําเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> การดำเนินงานพัฒนากลไกชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม มี 7 ส่วน ประกอบด้วย การพัฒนากลไกทางวัฒนธรรมชุมชน กลไกทางศาสนา กลไกข้อตกลงร่วมกันของชุมชน กลไกโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยเอื้อภายในชุมชน กลไกด้านต้นทุนชุมชน กลไกด้านสวัสดิการพื้นฐานในชุมชน รวมทั้งกลไกด้านบทบาทและสถานภาพของชุมชน</p> <p> การพัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการต้นทุนทางทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 2 ส่วน คือ 1) การเตรียมความพร้อมเสริมสร้างรากฐานชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุ 6 ด้าน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ การเตรียมความพร้อมด้านสังคม การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี และ 2) พัฒนากระบวนการจัดการชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุ 4 ส่วน ได้แก่ การจัดการปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อผู้สูงอายุ การจัดการปัจจัยเอื้อที่มีต่อผู้สูงอายุ การจัดการองค์กรภายในชุมชนรองรับสังคมสูงอายุ และการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจัดการสังคมผู้สูงอายุ</p> พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ, ภานุวัฒน์ สิงห์คำป้อง Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1181 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 The บูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1043 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา 2) เพื่อศึกษาพุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัด 3) เพื่อบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 รูป/คน และเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา หมายถึง การบริหารจัดการวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด มี 4 ประเด็น คือ 1) ด้านการบริหาร จัดการ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านการจัดการสถานที่ และ 4) ด้านงบประมาณ พบว่า ขาดปัจจัย โดยไม่มี งบประมาณต่าง ๆ จากทางคณะสงฆ์ องค์กรแต่ละองค์กรต้องจัดหาเอง การขับเคลื่อนล่าช้า</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัด หมายถึง การนำแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการเป็นการบริหารอย่างเป็นระบบ และการวางแผนเป็นการบริหารเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตาม หลักสัปปายะ 4 คือ 1) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักอาวาสสัปปายะ 2) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักโคจรสัปปายะ 3) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักภัสสสัปปายะ และ 4) พุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาวัดตามหลักปุคคลสัปปายะ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. บูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด หมายถึง การพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยการนำหลักพุทธวิธีมาบูรณาการเพื่อให้เกิดสัปปายะทางด้านกายภาพ จิตภาพ ปัญญา และสังคม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 4. องค์ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการพุทธวิธีในการพัฒนาวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด หมายถึง การบริหารจัดการวัดเพื่อให้เกิดสัปปายะทางกาย จิต ปัญญา และสังคม อันเป็นการพัฒนาที่นำไปสู่ความเป็นรมณียสถานอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธวิธี</span></p> พระครูปลัดทองใบ สุปภาโส (ปะพะลา), โสวิทย์ บำรุงภักดิ์, สงวน หล้าโพนทัน Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1043 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1006 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 430 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสาร วิสัยทัศน์ ทักษะด้านดิจิทัลและการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล 2) โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก <sup>2</sup> เท่ากับ 81.305, df เท่ากับ 64, P-Value เท่ากับ .0711, RMSEA เท่ากับ .025, CFI เท่ากับ .997, TLI เท่ากับ .996, SRMR เท่ากับ .017</p> วันเฉลิม บุญเกษม, ไพฑูรย์ แวววงศ์, ศศิรดา แพงไทย Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1006 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/783 <p> วิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรภายในองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าระดับภาวะผู้นำ คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันองค์กรอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.66, 3.60, และ 3.76 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.927, 0.854, และ 0.751 ตามลำดับ และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.713 และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลรวมต่อความผูกพันองค์กร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.816 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าภาวะผู้นำ</p> สุกัญญา คล้ายมี, บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์, มณีกัญญา นากามัทสึ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/783 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1065 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่า IOC เท่ากับ 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA F-test)</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p> 1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส และด้านหลักความคุ้มค่า 2) ผลเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานมีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ผู้บริหารควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลากร ควรประชุมและชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการพิจารณาความดีความชอบ ควรจัดสรรตำแหน่งบุคลากรผู้มีความชำนาญเฉพาะด้านในการปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสม</p> กฤตยากร ลดาวัลย์, วิมลพร สุวรรณแสนทวี, แสงดาว คงนาวัง Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1065 Sat, 16 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 3 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1026 <p> ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการและทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 3 จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product moment correlation Coefficient)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน</li> <li>ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> แววมยุรา เนียมสา, สมาน ประวันโต, Sasirada Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1026 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส ของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/888 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับผลกระทบทางธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส (2) การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางธุรกิจกับปัจจัยการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าภายในร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.68 และ 3.98 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .743 และ .819 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยผลกระทบทางธุรกิจ ด้านเศรษฐกิจ (Sig.=.000) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Sig.=.000) ด้านเทคโนโลยี (Sig.=.000) และด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sig.=.010) พยากรณ์การดำเนินธุรกิจตามแบบจำลองแคนวาสของร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ ได้ร้อยละ 64.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศุภศักดิ์ บุญดี, ธนาเดช ธนาธารชูโชติ, ประพาภรณ์ จินาอินทร์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/888 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรูอย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1184 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 และ2) ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ในส่วนงานจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 รูป/คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยการวิจัยและพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณาและ<em>การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</em> (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. การพัฒนาแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มี 5 องค์ประกอบ จำนวน 59 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 12 ข้อ 2) ด้านการเรียนรู้ของครู จำนวน 15 ข้อ 3) ด้านบรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ จำนวน 9 ข้อ 4) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 ข้อ แล 5) ด้านการประเมินและการสะท้อนผลการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของนิยามเชิงปฏิบัติการตามองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตในศตวรรษที่ 21 พบว่า ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) ระหว่าง 0.38 - 0.82 ซึ่งมีค่าทางบวกทุกข้อมีอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อคำถามทุกข้อมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเที่ยง (Reliability) มีค่า 0.92, 0.90, 0.87, 0.89 และ0.84 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับความเที่ยงสูงทุกองค์ประกอบ</span></p> ปาณจิตร สุกุมาลย์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1184 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรในบริษัทรับเหมาตกแต่งภายในประเภทเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/779 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันองค์กร 2) ปัจจัยความผูกพันองค์กร แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนออิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานภายในบริษัทรับเหมาตกแต่งภายในประเภทเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอาศัยความน่าจะเป็น และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันองค์กร อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81 และ 3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .718 และ .601 ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน สภาพการปฏิบัติงาน และการบังคับบัญชา ส่งผลต่อความผูกพันองค์กร โดยมีค่า R<sup>2</sup>=.580 หรือคิดเป็น 58.0 เปอร์เซ็นต์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ .05</p> ศักดิ์ชัย แซ่จ๊ง, วิชากร เฮงษฎีกุล Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/779 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น: การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1009 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า :</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น : การเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบสมาร์ทฟาร์มในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.26)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. โดยรวมทุกด้าน (Y) ได้รับอิทธิพลจากทางตรงจากการกำหนดผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่ม (X2) การถ่ายทอดความรู้ (X6) การแลกเปลี่ยนความรู้ (X4) โดยทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายภูมิโดยรวมทุกด้านเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ร้อยละ 9.48 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Y3 = 0.301X2+0.512X6+-.122X4</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. กำหนดกิจกรรมความสอดคล้องกับเนื้อหา สามารถนำความรู้มาใช้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยประยุกต์ใช้ นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากับศาสตร์ต่างๆ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบผสมผสานกับนวัตกรรมสมัยใหม่ ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน สรุปผลไว้ในรูปแบบของแฟ้มสะสมและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหรือความรู้ที่ชัดเจนเป็นปัจจุบัน ส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมในชุมชนและสังคมให้คงไว้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดทุนทางสังคมที่ทุกระดับ หน่วยภาครัฐหรือภาคีเครือข่ายจัดวิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาอบรมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดศูนย์การเรียนรู้นำมาปรับใช้ในชุมชน</span></p> บุญเพ็ง สิทธิวงษา, พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์), กนกอร บุญมี, พระกัณฑ์ปกรณ์ กุสลจิตฺโต (แก้วสุวรรณ์), อาทิตย์ แสงเฉวก Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1009 Thu, 15 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/784 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ และประสิทธิภาพในการทำงาน และปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทประกันภัยแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรภายในองค์กรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ด้วยวิธีอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ และประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80, 3.68, และ 3.91 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.932, 0.866, และ 0.840 ตามลำดับ และปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทประกันภัยแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.738 และความพึงพอใจมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพในการทำงาน มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.779 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง</p> ดนุพล พิทักษ์เศวตไชย, บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์, มณีกัญญา นากามัทสึ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/784 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1070 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการเพื่อการพัฒนาธรรมนูญตำบล 2) เพื่อพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 3) เพื่อการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ธรรมนูญตำบลเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์, ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้นำชุมชน ผู้แทนประชาชน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 22 คน และทำวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาธรรมนูญตำบลขึ้นในพื้นที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ตำบลนาเสียว เป็นพื้นที่ชนบทใกล้เมืองตั้งอยู่บริเวณใกล้กับเทือกเขาภูแลนคา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรพืชไร่ มีเส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า และสาธารณสุขทั่วถึง ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีความต้องการให้มีการพัฒนาธรรมนูญตำบลใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสภาพโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านการเมือง 3) ด้านเศรษฐกิจ 4) ด้านสังคม 5) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6) ด้านสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝐱̅= 3.41)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ดำเนินการพัฒนาธรรมนูญตำบลนาเสียว โดย (1) รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบล (2) ส่งเสริมความเข้าใจในการจัดทำ (3) ร่วมเสนอปัญหาความต้องการ (3) วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของตำบล (4) ร่วมการจัดทำร่างธรรมนูญตำบล และ (5) จัดทำข้อตกลงร่วมกัน และได้ร่างธรรมนูญตำบล 1 ฉบับ</span></p> <p> 3. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ธรรมนูญตำบลนาเสียว จำนวน 6 เครือข่าย ประกอบด้วย 1) เครือข่ายผู้นำท้องที่ 2) เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เครือข่ายหน่วยงานด้านสาธารณสุข 4) เครือข่ายหน่วยงานด้านการศึกษา 5) เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐอื่น และ 6) เครือข่ายด้านศาสนา</p> นิติพันธ์ อินทโชติ, ชุมพล เพ็งศิริ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1070 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1028 <p> </p> <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม 3) เพื่อบูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการ บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <p> แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นการดำเนินชีวิตของมนุษย์บนพื้นฐานศาสนา และมีความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านสังคม 3) ด้านพลศึกษา 4) ด้านสุขศึกษา และ 5) ด้านโภชนาการศึกษา หลักการดำเนินชีวิตที่ดีงาม คือ หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบของสุขภาพและความเป็นอยู่ในชีวิต และเป้าหมายการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ก็เพื่อให้มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ</p> <p><strong> </strong>หลักพุทธปรัชญาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม<strong> </strong>ได้แก่ 1) ไตรสิกขา 2) หลักศีล 5 3) ภาวนา 4 4) หลักกุศลกรรมบถ 10 5) หลักมรรคมีองค์ 8</p> <p> บูรณาการการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามหลักไตรสิกขา แล้วนํามาฝกอบรมและพัฒนาตนเอง ทางกาย วาจา ใจ ด้วยหลักศีล 5 เพื่อทุกคนจะมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้า มีความสุข สังคมก็จะร่มเย็นมั่นคงได้ ด้วยหลักภาวนา 4 เป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ต้องดูแลรักษาให้มีความสมบูรณ์ และด้วยหลักกุศลกรรม 10 เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม <strong> </strong>องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย โดยสรุปเป็น “3B MODEL”</p> อัจฉรา ไชยราช, สงวน หล้าโพนทัน, พระมหาสากล สุภรเมธี Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1028 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1185 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษา<br />อำเภอปง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ สูงสุดได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่ำสุดคือด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) การศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง พบว่า ด้านการบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษา ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระ รวมทั้งบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านโครงการ โครงงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการเสริมสร้างครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิทยากรด้านการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านผลสัมฤทธิ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่าง หรือเป็นต้นแบบในการบูรณาการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21</p> สรัลรัชต์ ดอนมูล, สุนทร คล้ายอ่ำ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1185 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยแบบออนไลน์ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/780 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้อ และ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัท จำนวน 400 คน ภายใต้แนวคิดของ Cochran et al., (1953) ด้วยวิธีไม่อาศัยความน่าจะเป็น (non-probability) และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.59, 3.67, และ 4.02 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.94, 0.94, และ 0.78 ตามลำดับ และ 2) พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ผ่านการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.773 และการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลรวมต่อการตัดสินใจซื้อ มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.356 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าการยอมรับเทคโนโลยี</p> เสรี จรัสนิรัติศัย, บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์, มณีกัญญา นากามัทสึ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/780 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครูของนักศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยพิชญบัญฑิตด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1011 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา 2) ศึกษาผลพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมครู 2.2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมฯ 2.4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและความต้องการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมครูของนักศึกษาฯพบว่าปัญหาการควบคุมอารมณ์ตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในการทำงาน การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีปัญหาในระดับมาก ( = 3.72) และมีความต้องการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้านคุณธรรม จริยธรรมครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82) 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญทาสถิติ .05 และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93) 3. ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30)</p> แสงเดือน คงนาวัง Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1011 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1079 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประชากร คือคณะกรรมการป่าชุมชุมชนบ้านหนองตาใกล้ จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและวิเคราะห์ SWOT</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพแวดล้อมการจัดการป่าชุมชนโดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก จุดแข็งคือมีความเป็นชุมชนและวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็นต้น จุดอ่อนคือคนในชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น โอกาสคือได้รับความสนใจและสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย เป็นต้น อุปสรรคคือขาดการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน เป็นต้น</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการป่าชุมชนเพื่อกำหนดเป็นแนวทางการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนคิดเป็นร้อยละ 100 สัดส่วนที่เห็นด้วยมากที่สุดแนวทางที่ 1 การส่งเสริมให้ชุมชนสำนึกการมีส่วนร่วมจัดการป่าชุมชน แนวทางที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายให้แก่สมาชิกทุกคน แนวทางที่ 3 สนับสนุนให้แต่ละชุมชนมีการฟื้นฟูจัดการอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาหาร ที่พักพิงใช้สอยของคนในชุมชน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. กลยุทธ์การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 1) ส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 2) พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของคณะกรรมการป่าชุมชนและประชาชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการป่าชุมชนชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 4) พัฒนาระบบการสื่อสารให้เหมาะสมกับการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้น 5) ขยายภาคีเครือข่ายให้มากขึ้น เป็นต้น</span></p> <p> </p> ธีรวัฒน์ หินแก้ว, พีระยุทธ ศิลาพรหม, พระครูประยุตสารธรรม, ณฐอร เจือจันทร์, พระมหาวิรุธ วิโรจโน Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1079 Wed, 20 Mar 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/998 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 325 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน กลุ่มผู้ประเมินแนวทาง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพที่ปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และองค์ประกอบที่มีต้องการจำเป็นมากที่สุดคือการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว มีค่า PNI Modified (0.34)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ประกอบด้วย 5 ด้าน 17 แนวทาง ซึ่งได้แก่ 1) การเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่วจำนวน 3 แนวทาง 2) ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ จำนวน 3 แนวทาง 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์และการบริหารจัดการคุณภาพ จำนวน 3 แนวทาง 4) การมีวิสัยทัศน์ จำนวน 4 แนวทาง 5) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล จำนวน 4 แนวทาง</span></p> มานะ โดดชัย, ศศิรดา แพงไทย, สมใจ มณีวงษ์ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/998 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/781 <p> การทำงาน และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรภายในบริษัทประกันภัย จำนวน 300 คน ด้วยวิธีอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าระดับแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันองค์กร และประสิทธิภาพการทำงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.97, 3.91, และ 4.12 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.540, 0.621, และ 0.516 ตามลำดับ และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานผ่านความผูกพันองค์กรมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.829 และความผูกพันองค์กรมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพในการทำงาน มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.221 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าความผูกพันองค์กร</p> ลัดดารัตน์ กิจรุ่งไพบูลย์, วิชากร เฮงษฎีกุล Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/781 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจ ของแคนวาสของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/886 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส และ (3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารที่ปฏิบัติงานภายในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 160 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และปัจจัยธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.87 และ 4.10 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .737 และ .919 ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ส่งผลต่อปัจจัยธุรกิจตามแนวคิดแบบจำลองธุรกิจของแคนวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ด้านการเมือง (Sig.=.021) ด้านเศรษฐกิจ (Sig.=.011) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sig.=.006) ด้านเทคโนโลยี (Sig.=.002) ด้านกฎระเบียบ (Sig.=.003) ด้านระบบสาธารณะ (Sig.=.009) พยากรณ์การส่งผลต่อธุรกิจของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยได้ร้อยละ 73.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศุภศักดิ์ บุญดี, สวัสดิ์ เหลาชัย, ธนาเดช ธนาธารชูโชติ Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/886 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 เมืองโบราณชัยภูมิ : แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1107 <p> งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดีและยุคขอม 2) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดี และยุคขอม 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ยุคทวารวดี ยุคขอม จนถึงยุคปัจจุบันในจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p> 1) แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิยุคทวารวดีและยุคขอม จำนวน 10 แห่ง ดังนี้ 1) พระใหญ่ทวารวดี 2) พระธาตุหนองสามหมื่น 3) พระพุทธรูปศิลาแกะสลักบนหน้าผาภูพระ 4)ใบเสมาสมัยทวารวดี วัดศรีปทุมคงคาวนาราม บ้านกุดโง้ง 5) เมืองโบราณหามหอก <em>6</em><em>) </em>ปราสาทกู่แดง 7) ปรางค์กู่บ้านแท่น 8) ปราสาทปรางค์กู่ 9) ปรางค์ดอนกู่ 10) พระธาตุกุดจอก 2) การพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดี และยุคขอม พบว่า เป็นการจัดการแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่มีอยู่อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบเลือกนำมาใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ศาสนาและวัฒนธรรมยุคทวารวดีและยุคขอม โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมเพราะเป็นกระบวนการจัดการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3) การเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ยุคทวารวดี ยุคขอม จนถึงยุคปัจจุบันในจังหวัดชัยภูมิ แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านประวัติศาสตร์ 2) ด้านศาสนาและ 3) ด้านวัฒนธรรม</p> พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี, ดร. Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1107 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1032 <p> บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก</p> <p> 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก</p> <p> 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวม ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> 4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงจึงได้รับเลือกเข้าสมการตามลำดับ คือ 1. ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ (X<sub>3</sub>) 2. ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X<sub>1</sub>) และ 3. ด้านการมีวิธีคิดเชิงปฏิวัติ (X<sub>2</sub>) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .796 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted R<sup>2</sup>) เท่ากับ .629 นั่นคือ ตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 62.90 โดยด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ เป็นตัวแปรที่สามารถส่งผลต่อความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษามากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .646</p> อรวรรณ จันทร์หล่ม, สมาน ประวันโต Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1032 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/282-294 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 133 คน เลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน จำนวน 218 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r<sub>xy</sub> = .781)</li> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต3 ได้ร้อยละ 67.00 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้</li> </ol> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ</p> <p> = .193 + .382 + .192 +.250 +.106 <br />สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ</p> <p> = .392Z + .218Z +.242Z +.130Z </p> ลดาวัลย์ วงศ์สินธุ์, ประมวล อุ่นเรือน, ศศิรดา แพงไทย Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/282-294 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการให้บริการของบุคลากร ภายในบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/782 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจในการให้บริการ และ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของบุคลากรภายในบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อประกันภัย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจในการให้บริการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.97, 4.05, และ 4.04 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.745, 0.842, และ 0.819 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของบุคลากรภายในบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.923 และคุณภาพการบริการมีอิทธิพลรวมต่อความพึงพอใจในการให้บริการ มีอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.755 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของบุคลากรภายในบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าคุณภาพการบริการ</p> อนงนาฎ ศุภเสริฐ, วิชากร เฮงษฎีกุล Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/782 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700