https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/issue/feed เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ 2024-08-31T00:00:00+07:00 Open Journal Systems <p><strong> นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์ กำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</p> <p><strong> กระบวนการพิจารณาบทความ :</strong> บทความที่เผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ</p> <p><strong>ประเภทของบทความ : </strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย</li> <li>บทความวิชาการ</li> <li>บทวิจารณ์หนังสือ</li> </ol> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong> ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร : </strong></p> <p>วารสารกำหนดวงรอบการเผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม </p> <p> </p> <p><strong>การติดต่อประสานงานและส่งบทความเผยแพร่ :</strong></p> <ol> <li>สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น เช่น รอบการเผยแพร่ หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ เป็นต้น โทร. 084 886 8052; 092 746 7383</li> <li><a title="คำแนะนำสำหรับผู้เขียน" href="https://docs.google.com/document/d/1HZe4BZqdNIDHpKZkF2GqhMEbEWyvGSVDhB8lwslInb8/edit">Clik คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทความวิจัย" href="https://docs.google.com/document/d/11QtbGqpwUl_MX0O6E7UFg3H-zakB0HAXgI9b9wiruKA/edit">Clik เทมเพลตบทความวิจัย</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทความวิชาการ" href="https://docs.google.com/document/d/10zZKlrC7Zh0Gdcbx24_xF3M9jiuv0xWZ0cdYjuVHKMY/edit">Clik เทมเพลตบทความวิชาการ</a></li> <li><a title="เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ" href="https://docs.google.com/document/d/17BG_YZ1W4rA1snOGH-li2Z3WS8iKEJ8b5eWxqyNgS44/edit">Clik เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ</a></li> <li><a href="https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/">Clik ลงทะเบียนวารสาร และส่งบทความในวารสาร </a></li> <li><a title="แบบขอส่งบทความตีพิมพ์" href="https://docs.google.com/document/d/1P5Tqya10fZ1Z-pdYHc-x6k6BDKMcSEqtH3sE-GLwsmU/edit">Clik แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a></li> <li><a href="https://docs.google.com/forms/d/1ydsOy63Vr_X2pvqWOBFLDYDipJ6tu2BH3Z3I76AOdHo/viewform?edit_requested=true">Clik ลงทะเบียนส่งบทความ </a></li> <li>สแกนไลน์ กลุ่มวารสารฯ เพื่อการติดต่อประสานงานเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><img src="https://so12.tci-thaijo.org/public/site/images/setthawit138/mceclip0.png" /></p> <p> </p> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1148 ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง 2024-04-02T16:18:06+07:00 ยูสุบ ดลระหมาน soup.bk001@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุงและ 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง จำนวน 173 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .923</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.69, S.D. = 0.88) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้นำแบบผู้ขายความคิด 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.75, S.D. = 0.81) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนรองลงมา คือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียนและด้านการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 r<sub>xy = </sub>.692**) 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดพัทลุงพบว่า ผู้บริหารควรมีการวางแผนการดำเนินงานให้เป็นระบบระยะเวลาการปฏิบัติงานและกำหนดส่งงานที่แน่นอน ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานในทุกๆ ด้าน และควรให้ความสำคัญในด้านการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพ</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1127 ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 2024-03-23T21:57:31+07:00 จันทรา พัทคง jantra.pat014@hu.ac.th <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 2)ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 350 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูลในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r=.768**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1072 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานร่วมกับกระบวนการโค้ช โรงเรียนในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น 2024-03-11T13:59:34+07:00 บัญชา ธรรมบุตร thammabut.bancha@gmail.com รัชนีบูรณ์ เนตรภักดี Thammabut.bancha@gmail.com อรรถพงษ์ ผิวเหลือง Thammabut.bancha@gmail.com ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล Thammabut.bancha@gmail.com บัญชา เกียรติจรุงพันธ์ Thammabut.bancha@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน สำหรับเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำหรับเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดวิเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินคู่มือฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสังเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน พบว่า 1) ครูภาษาไทยสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 2) ครูภาษาไทยสามารถการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดสอบความรู้การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ทำแบบวัดคติธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความคิดเห็นของนักเรียนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างคติธรรมสำหรับนักเรียน พบว่า 1) โครงร่างหลักสูตรมีความสอดคล้องและหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความเหมาะสม 2) ผลทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน ของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม 3) การประเมินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก 4) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานของครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด</span></p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/964 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา 2024-08-08T16:19:37+07:00 เดือนเพ็ญ ภูริเรืองกิตติ์ mapingloving@hotmail.com เริงศักดิ์ เพชรหัสตระกูล ad@doem.co.th สุชาติ เทเวศม์อุดม ad@doem.co.th <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจ การผลิต นวัตกรรม และความยั่งยืน (2) ปัจจัยการผลิต นวัตกรรม เป็นปัจจัยส่งผ่านระหว่างแรงจูงใจสู่ความยั่งยืน และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 240 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยแรงจูงใจ การผลิต นวัตกรรม และความยั่งยืน ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ตัวแบบที่วิเคราะห์ คือ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ X<sup>2</sup>/df= 2.748, RMSEA = 0.064, RMR = 0.035. ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านแรงจูงใจในการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และ (3) ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจในการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างยั่งยืน ในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่เมืองใหม่สุรนารี นครราชสีมา</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1134 สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 2024-03-23T22:02:44+07:00 วรัชญาน์ แก้วบพิธ waratchaya.kae026@hu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 (2) เปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต1 จำแนกตามประสบการณ์การสอน ขนาดโรงเรียน และวุฒิการศึกษา (3) รวบรวมข้อเสนอแนะสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 285 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิแบบเป็นสัดส่วนโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ตั้งแต่ .67 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.988 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การทดสอบค่าที-เทส และการทดสอบค่าเอฟ-เทส ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิต่างแตกต่างกัน มีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารที่มีประสบการณ์ต่างกันและขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีสมรรถนะการบริหารวิชาการโดยรวมไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะที่มีต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและด้านการวิจัย ควรมีการทำความเข้าใจ จัดอบรมเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาความรู้ให้ครูนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1099 กระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู 2024-03-17T11:30:27+07:00 ชัยยุทธ เดชสีหา tiwlip2528@gmail.com พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ tiwlip2528@gmail.com พิมพ์พร จารุจิตร์ tiwlip2528@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษากระบวนการการบริหารสถานศึกษาสู่มาตราฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษา สู่มาตราฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตราฐานโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู และระยะที่ 2 การศึกษากระบวนการการบริหารสถานศึกษา และศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจะจง (Purposive Selection) ทั้งหมด 24 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) การสังเกตและจดบันทึก (Observation and field-in) และแบบตรวจสอบรายการ(Check list)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ การวางแผน การจัดการองค์การ การบริหารงานบุคคล การสั่งการ การประสานงาน และ การควบคุม 2) การปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหา อุปสรรค ที่พบคือ มีภาระงานมาก บุคลากรในสถานศึกษามีไม่เพียงพอ ทำให้บุคลากรมีความกังวลในการทำงานเนื่องจากต้องดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้างานไม่เสร็จตามเป้าหมายอาจกระทบต่องานอื่นๆในโรงเรียน</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1322 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจชมคอนเสิร์ต Taylor Swift The eras tour ในประเทศสิงคโปร์ 2024-05-19T16:42:57+07:00 วรพรต ไทยอารี teddy.bo.ntk@gmail.com รัชนิพัทธิ์ เมธาอัครเกียรติ teddy.bo.ntk@gmail.com มนัสสินี บุญมีศรีสง่า teddy.bo.ntk@gmail.com ระชานนท์ ทวีผล teddy.bo.ntk@gmail.com <p> The objectives of this research article aimed to: 1) study the factors influencing the organization of the Taylor Swift The Eras Tour concert and the level of decision-making to attend the concert in Singapore, and 2) study the factors affecting the decision-making to attend the Taylor Swift The Eras Tour concert in Singapore. The sample group consisted of individuals who attended the Taylor Swift The Eras Tour concert in Singapore. A sample group of 400 individuals. Data analysis involved statistical measures such as percentages, means, standard deviations, correlation coefficients, and multiple regression analysis. The study found that (1) the factor with the highest average influence on the decision to attend the concert was the artist, followed by the performance elements, venue, and pricing, and (2) independent variables such as venue, pricing, and performance elements influenced the decision.</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1050 ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2024-02-25T15:38:13+07:00 อุไรภรณ์ ศรีจุมพล sriuraiporn2523@gmail.com อดิศร ศรีบุญเมือง sriuraiporn2523@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และ3) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ </p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า </p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารโรงเรียน มีประสิทธิผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rxy = 0.827)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 4. ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม (X</span><sub>5</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล (X</span><sub>4</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) และทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ (X</span><sub>3</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) สามารถร่วมกันพยากรณ์ทำนายผลต่อต่อประสิทธิการบริหารโรงเรียน ได้ร้อยละ 69.80 (Adjusted R Square = 0.698) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่สามารถเขียนในรูปสมการคะแนนดิบและสมการคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้</span></p> <p> สมการคะแนนดิบ : = 0.907+ 0.371 (X<sub>5</sub>) + 0.242 (X<sub>4</sub>) + 0.180 (X<sub>3</sub>)</p> <p> สมการคะแนนมาตรฐาน : = 0.437 (X<sub>5</sub>) + 0.280 (X<sub>4</sub>) + 0.218 (X<sub>3</sub>) </p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1151 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2024-04-09T16:26:30+07:00 กิตติศักดิ์ สุวรรณชัยรบ oppo0817901200@gmail.com <p> บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน รวม 99 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ PNI ดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. <span style="font-size: 0.875rem;">สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และ สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล และรูปแบบและครูมือมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า ความสามารถในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ หลังการเข้าร่วมพัฒนาครูตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครูมีคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียน เท่ากับ 33.26 คิดเป็นร้อยละ 83.15 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1128 รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-04-15T15:01:10+07:00 อิชยา กล้าขยัน Itchaya.k1994@gmail.com สุรินทร์ ภูสิงห์ Itchaya.k1994@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และครู กศน. ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมจำนวน 274 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI<sub>Modified</sub></p> <p> ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p> 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน 3) การมีส่วนร่วม และ 4) การจัดการเครือข่าย</p> <p> 2) รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) แนวทางการประเมิน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมรูปแบบพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก</p> <p> 3) การะประเมินความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1030 อิทธิพลของบุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทำมือ (Handmade) ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี 2024-05-15T10:23:55+07:00 ชูใจ สุภาภัทรพิศาล mapingloving@hotmail.com สุดที่รัก นุชนาถ ood_04@hotmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถของผู้ประกอบการ อิทธิพลทางวัฒนธรรม (ซอฟต์พาวเวอร์) นวัตกรรมการผลิตสินค้า และการตัดสินใจเลือกซื้อ และ 2) อิทธิพลทางวัฒนธรรม และนวัตกรรมการผลิตสินค้าในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการสู่การตัดสินใจเลือกซื้อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บรวบรวมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าทำมือภายในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 500 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นและสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถของผู้ประกอบการ อิทธิพลทางวัฒนธรรม (ซอฟต์พาวเวอร์) นวัตกรรมการผลิตสินค้า และการตัดสินใจเลือกซื้อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.84, 3.80, 3.64 และ 3.83 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .695, .755, .743 และ .793 ตามลำดับ 2) อิทธิพลทางวัฒนธรรม นวัตกรรมการผลิตสินค้าในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการสู่การตัดสินใจเลือกซื้อ มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ X<sup>2</sup>/df=1.236, RMR=.033, RMSEA=.022 และเส้นอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรความสามารถของผู้ประกอบการผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมสู่การตัดสินใจซื้อ อยู่ในช่วง .059-.253 และความมารถของผู้ประกอบการผ่านอิทธิพลนวัตกรรมการผลิตสินค้าสู่การตัดสินใจซื้อ อยู่ในช่วง .417-.583 ถือว่าไม่คลุม 0 แปลความได้ว่า นักท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรีจะตัดสินใจซื้อสินค้าทำมือจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมและนวัตกรรมการผลิตสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1264 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น 2024-05-23T10:39:32+07:00 ฐิภาภรณ์ แสนสิริสวัสดิ์ teddy.bo.ntk@gmail.com อาคม อึ่งพวง teddy.bo.ntk@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 1 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน ข้าราชการครูจำนวน 26 คน และครู กศน.ตำบล จำนวน 144 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงร่างกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.84 ค่า SD อยู่ที่ 0.93 ซึ่งผลรวมอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.40 ค่า SD อยู่ที่ 0.63 ผลรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น พบว่า มีแนวทางการพัฒนาทั้งหมด 25 แนวทางย่อย โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1135 กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด 2024-03-25T10:20:35+07:00 บุญช่วย กิตติวิชญกุล boonchuay.kit@neu.ac.th <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การวิจัย มีค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องรวมทั้งฉบับเป็น 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่า กลุ่มตัวอย่าง 390 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ใช้การเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมการคำนวณค่าสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า : 1)ระดับกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (X3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X5) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหาร (X4) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .557 .369 และ .275 ตามลำดับ และ 3) พนักงานเห็นด้วยและมีความพึงพอใจในนโยบายที่จะทำให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและเป็นธรรม เป็นต้น ส่วนกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในเครือ บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด ที่จะต้องให้ความสำคัญและนำมากำหนดเป็นนโยบายนำมาปฏิบัติโดยเร็วเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1100 สภาพและแนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 2024-03-17T11:34:40+07:00 จุฑามาศ กาละพวก pialuse250@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 2) เปรียบเทียบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 รวมทั้งสิ้น จำนวน 287 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำนวน จำนวน 8 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test และการทดสอบ f – test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกันกัน และผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 3) แนวทางการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 จำนวน 8 ด้าน รวม 26 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1323 องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค DIGITAL DISRUPTION สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2024-05-19T16:38:54+07:00 ภูมินทร์ ชาลีคาร teddy.bo.ntk@gmail.com นิยดา เปี่ยมพืชนะ teddy.bo.ntk@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค DIGITAL DISRUPTION สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 358 คน โดยจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และครู จำนวน 338 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักหลังหมุนแกนแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค DIGITAL DISRUPTION สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีจำนวนองค์ประกอบทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ด้านการสร้างสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล 3) ด้านการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือทางเทคโนโลยีดิจิทัล 4) ด้านการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 5) ด้านจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือดิจิทัล เมื่อพิจารณาค่าร้อยละของความแปรปรวนและค่าร้อยละสะสมของความแปรปรวนองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ สามารถอธิบายองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค DIGITAL DISRUPTION สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ได้ร้อยละ 90.349</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1053 คุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 2024-03-31T20:15:00+07:00 ประภัสรา ศรีบุญ sriboon123456789@gmail.com พระครูชัยรัตนการ sriboon123456789@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 และ 2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 351 คน กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านทิฏฐิสามัญญตา และด้านเมตตากายกรรม ตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 ประกอบด้วย 6 ด้าน 21 แนวทาง ดังนี้ (1) ด้านเมตตามโนกรรม มี 4 แนวทาง (2) ด้านสีลสามัญญตา มี 3 แนวทาง (3) ด้านด้านเมตตากายกรรม มี 2 แนวทาง (4) ด้านเมตตาวจีกรรม มี 4 แนวทาง (5) ด้านทิฎฐิสามัญญตา มี 4 แนวทาง (6) ด้านสาธารณโภคี มี 4 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1129 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2024-03-24T20:07:18+07:00 ประภากรณ์ ปิ่นสุวรรณ Prapagonepin@gmail.com สุรินทร์ ภูสิงห์ Prapagonepin@gmail.com <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมโปรแกรมพัฒนาครู และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โปรแกรมพัฒนาครู </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น จากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ การดำเนินการศึกษาค้นคว้า การนำเสนอและประเมินผลงาน และ การกำหนดปัญหา ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย Module (1) การกำหนดปัญหา Module (2) การทำความเข้าใจกับปัญหา Module (3) การดำเนินการศึกษาค้นคว้า Module (4) การสังเคราะห์ความรู้ Module (5) การสรุปและประเมินค่าของคำตอบ และ Module (6) การนำเสนอและประเมินผลงาน 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผล ส่วนผลการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1077 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2024-03-09T14:14:42+07:00 สุกัญญา เมืองผง sukan2521@gmail.com พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ sukan2521@gmail.com สุรชัย เทียนขาว sukan2521@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และประสิทธิผลโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลโรงเรียน และ 3) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 และด้านประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบมีขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (X) กับประสิทธิผลโรงเรียน (Y) โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีตัวแปรพยากรณ์ (X) จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ ทักษะด้านสังคมและข้ามวัฒนธรรม X<sub>3</sub> ทักษะด้านการศึกษา X<sub>5</sub> ทักษะด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ X<sub>4</sub> ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี X<sub>1</sub> และทักษะด้านการริเริ่มสร้างสรรค์และการเป็นตัวเอง X<sub>2</sub> ที่ร่วมกันส่งผลต่อการพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลโรงเรียน (Y) ได้ร้อยละ 47.60 (R<sup>2</sup>=0.476) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <strong> </strong>ในด้านทักษะด้านการศึกษาในศตวรรษที่21 ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำผลการวิจัยไปใช้ ในการส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาการและ มีการนิเทศติดตามการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1040 ความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 2024-02-16T10:05:04+07:00 พรสวรรค์ ซนมาสุข missning61@gmail.com ศศิรดา แพงไทย missning61@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่ (Dual – Response Format) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.95 สภาพที่พึงประสงค์ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพปัจจุบันของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านชื่อเสียง รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านอัตลักษณ์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ความต้องการจำเป็นของการสร้างแบรนด์โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI</span><sub>Modified </sub><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.61) รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ (PNI</span><sub>Modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.59) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านชื่อเสียง (PNI</span><sub>Modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.29)</span></p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1265 ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2024-05-15T11:02:22+07:00 ไอรดา ชาลีคาร teddy.bo.ntk@gmail.com ยุทธศาสตร์ กงเพชร teddy.bo.ntk@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวนทั้งสิ้น 339 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีค่า เฉลี่ย ( อยู่ที่ 3.29 และ S.D. เท่ากับ 0.15) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 มีค่า เฉลี่ย ( อยู่ที่ 4.79 และ S.D. เท่ากับ 0.17) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 เรียงตามลำดับดังนี้ 1. ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ 2. ด้านการมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง 3. ด้านการมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม 4. ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม 5. ด้านการจัดการความเสี่ยง</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1137 โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น 2024-04-15T15:04:18+07:00 ณัฎฐ์ฏาพร อรรคพงษ์ Natchadaporn9425@gmail.com สุรินทร์ ภูสิงห์ Natchadaporn9425@gmail.com <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบความเหมะสมของโปรแกรมพัฒนาครู และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ การวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง 306 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) โปรแกรมพัฒนาครู 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แบบประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 17 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนาความคิดรวบยอด การออกแบบและนำเสนอความรู้ และ การตรวจสอบและอภิปราย ตามลำดับ 2) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 3) โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1120 การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตพระพุทธบาทบัวบก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2024-03-24T10:27:20+07:00 ธนะเศรษฐ์ เกษกุ thanaset1998@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตพระพุทธบาทบัวบก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประชากรหน่วยที่ศึกษา คือ โรงเรียน 7 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร 7 คน และครู 142 คน รวมเป็น 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตพระพุทธบาทบัวบก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตพระพุทธบาทบัวบก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูผู้สอนควรออกเยี่ยมบ้าน และบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ การคัดกรองนักเรียน ครูควรคัดกรองนักเรียนและจัดกลุ่มนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน มีแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สอดรับกับปัญหาของนักเรียน การส่งต่อนักเรียน สถานศึกษาส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและรวดเร็ว</span></p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1386 ศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร 2024-07-04T17:21:00+07:00 พระมหาพิชิต สุจิตฺโต pichitsujitto6439@gmail.com พระครูปริยัติสาทร pichitsujitto6439@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 อย่าง คือ 1) เพื่อศึกษาหลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการของกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์เรื่องกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า: หลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี 4 หมวดๆ ละ 4 ข้อ รวมแล้วมี 16 ข้อ หลักกรรม 16 เหล่านี้ย่อลงแล้วมี 4 ประการ คือ 1) กรรมดำมีวิบากดำ 2) กรรมขาวมีวิบากขาว 3) กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว 4) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว กระบวนการของกรรมในมหากัมมวิภังคสูตรมีเจตนาเป็นปัจจัย มีต้นเหตุคือกุศลมูลและอกุศลมูล ผ่านการกระทำทางกาย วาจา ใจ กระบวนการในการเสวยวิบากจะเกี่ยวกับเวทนา 3 อย่างได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา กรรมมีวิบากที่ซับซ้อนคือกรรมที่มีการแทรกแซงการให้ผล ได้แก่ กรรมที่สมควรแสดงให้เห็นว่าสมควรก็มี กรรมที่สมควรแสดงให้เห็นว่าไม่สมควรก็มี กรรมที่ไม่สมควรแสดงให้เห็นว่าไม่สมควรก็มี กรรมที่ไม่สมควรแสดงให้เห็นว่าสมควรก็มี ความจริงแล้วกระบวนการของกรรมมีความเป็นเหตุเป็นผลที่ตรงกันเสมอ คำกล่าวที่ว่าทำชั่วได้ดี ทำดีได้ชั่วนั้นจึงไม่มี เพราะวิบากย่อมให้ผลตรงกับกรรมเสมอ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1063 แนวทางการบริหารงานกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2024-03-31T20:16:39+07:00 ธัชทร ลาภาทองธนากุล thutchathon01980@gmail.com จิราภรณ์ ผันสว่าง thutchathon01980@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNI<sub>modified</sub> และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ทั้งหมด 6 ด้านรวมเป็น 19 แนวทาง ได้แก่ (1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มี 3 แนวทาง (2) ด้านการบริหารงานเงินลูกเสือ มี 3 แนวทาง (3) ด้านการให้ความร่วมมือกับสังคม มี 3 แนวทาง (4) ด้านการสอบวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มี 3 แนวทาง (5) ด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อความก้าวหน้าของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มี 3 แนวทาง (6) ด้านการจัดตั้งกลุ่มหรือกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มี 4 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/962 การมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน 2024-08-08T16:14:13+07:00 สุชาติ เทเวศม์อุดม mapingloving@hotmail.com เริงศักดิ์ เพชรหัสตระกูล nangdriver69@yahoo.com เดือนเพ็ญ ภูริเรืองกิตติ์ nangdriver69@yahoo.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม บริบททางสังคม และธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน ศึกษาปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน และเพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจชุมชนของประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมของธุรกิจรักษ์โลกในชุมชนทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยตัวแบบที่วิเคราะห์คือ ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ = 2.935, RMSEA = 0.076, RMR = 0.034 ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านธุรกิจรักษ์โลกในชุมชนโดยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชนพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่ มีความสามารถในการจัดการธุรกิจรักษ์โลกในชุมชน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของชุมชนในพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้นำชุมชนในพื้นที่</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1169 พุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้นำชุมชน เขตอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 2024-04-10T15:39:48+07:00 พระฤทัย เขมธโร (สุ่มมาตย์) Ruthai_SomMat@gmail.com พระครูกิตติวราทร Ruthai_SomMat@gmail.com <p> บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) ของผู้นำชุมชน 2) ศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) ของผู้นำชุมชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) ของผู้นำชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า<strong>:</strong></p> <p> 1) ระดับการปฏิบัติพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) ของผู้นำชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพฤติกรรมการป้องกันตนเอง (อธิศีลสิกขา) รองลงมา คือ ด้านการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา 2019 (อธิปัญญาสิกขา) ด้านการร่วมกลุ่มทางสังคมการเดินทางออกนอกจังหวัด (อธิจิตสิกขา) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา 2019 (อธิปัญญาสิกขา) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ ตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะพุทธวิธีการนำหลักไตรสิกขาในการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) พบว่า ควรจัดให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อจองสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนและนัดหมายรับบริการ สถานประกอบการต่างๆ ควรจัดบริการที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ควรลงทะเบียนก่อนเข้าและก่อนออกจากสถานที่</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1130 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2024-03-23T22:44:58+07:00 จุฑาพร สันจิตร juthaphorn.san032@hu.ac.th ศัจนันท์ แก้ววงค์ศรี juthaphorn.san032@hu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล2)เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3 )รวบรวมข้อเสนอแนะของครูผู้สอนทีมีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบหาค่าที (t-test) และการทดสอบหาค่าเอฟ(F-test) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่าครูผู้สอนที่มี เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอ ละงู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า ผู้บริหารควรเน้นการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับยุคสมัย จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ครอบคลุมต่อนักเรียน ตลอดจนการใช้สื่อที่น่าสนใจและหลากหลาย เน้นการปฏิบัติจริง และจัดให้มีการนิเทศอย่างสม่ำเสมอเพื่อเข้าถึงปัญหาอย่างชัดเจน</p> <p> </p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1042 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2024-02-17T10:18:50+07:00 กรกุลผลทอง นามปักใต้ pnampaktai@gmail.com ศศิรดา แพงไทย pnampaktai@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 335 คน ผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าความต้องการจำเป็น</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า </p> <p> 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และดัชนีความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.45 (PNI<sub>Modified</sub> = 0.45)</p> <p> 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอเป็น 5 องค์ประกอบ 17 แนวทาง ซึงได้แก่ 1) การมีทักษะการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม จำนวน 4 แนวทาง 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์ จำนวน 5 แนวทาง 3) การสร้างแรงบันดาลใจ จำนวน 3 แนวทาง 4) การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จำนวน 3 แนวทาง และ 5) การมีความกล้าที่จะเสี่ยง จำนวน 2 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1266 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2024-05-15T11:05:51+07:00 เกริกเกียรติ ชาลีคาร teddy.bo.ntk@gmail.com นิยดา เปี่ยมพืชนะ teddy.bo.ntk@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 339 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach (1990) โดยแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แสดงว่า แบบสอบถามมีความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ การกำหนดทิศทางขององค์การ รองลงมาคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การ และด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r=0.80) และมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r=0.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1142 แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล 2024-04-01T17:03:33+07:00 พระมหายุทธพงศ์ กิตฺติวฑฺฒโก (อยู่หนู) khoom.2544@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศของผู้เรียน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 รูป/คน การศึกษาแนวทาง จำนวน 10 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และเสนอแนวทาง จำนวน 7 รูป/คน โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า: 1) สภาพความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศของผู้เรียน โรงเรียนธรรมจักรวิทยา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสตูล ประกอบด้วย 1.1) เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระพุทธศาสนาและพลเมืองที่ดีของสังคม 1.2) มีความรู้และทักษะในวิชาการทางพระพุทธศาสนา 1.3) มีนิสัยใฝ่หาความรู้ ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและวินัยสงฆ์ 1.4) มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ 1.5 รู้จักบำรุงรักษา ศาสนสมบัติ อนุรักษ์ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อม 1.6) มีความภูมิใจความเป็นสมณะ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และ 1.7) มีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมสนับสนุนแนวทางปฏิบัติให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน สังคม 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ มีขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย 2.1) การวิเคราะห์ปัญหา 2.2) การวางแผนการพัฒนา 2.3) การจัดกิจกรรมการพัฒนา 2.4) การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 2.5) การสรุปผลการพัฒนาการจัดทำรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นศาสนทายาทชั้นเลิศ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1126 โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2024-03-24T19:55:33+07:00 เหมือนฟ้า คำแหงพล Mueanfha@hotmail.com สุรินทร์ ภูสิงห์ Mueanfha@hotmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความประโยชน์ของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 297 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI<sub>Modified</sub></p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p><strong> </strong> 1. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการค้นคว้าและคิด ด้านการนำเสนอ และด้านการตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ตามลำดับ</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มี 5 องค์ประกอบด้วย ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย Module 1 การกระตุ้นความสนใจ Module 2 การตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ Module 3 การค้นคว้าและคิด Module 4 การนำเสนอ และ Module 5 การประเมินผล 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p> </p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1423 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2024-07-15T14:09:00+07:00 ศศิรดา แพงไทย teddy.bo.ntk@gmail.com สมใจ มณีวงษ์ teddy.bo.ntk@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัล 2) ตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 360 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์ Structural Equation Model :SEM</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ภาวะผู้นำดิจิทัล วิสัยทัศน์ดิจิทัล สมรรถนะทางดิจิทัลและการบูรณาการทางดิจิทัล</p> <p> 2) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก <sup>2</sup> เท่ากับ 43.548, df เท่ากับ 45, P-Value เท่ากับ 0.543, RMSEA เท่ากับ .0.00, GFI เท่ากับ 0.983 AGFI เท่ากับ 0.959,</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1064 แนวทางการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2024-03-31T20:18:46+07:00 จุฑารัตน์ แผ้วไธสง Jutharat591@gmail.com จิราภรณ์ ผันสว่าง Jutharat591@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู รวม 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p> 1) การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามแนวทางการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านพฤติกรรมครู ผู้บริหาร และนักเรียน ด้านกายภาพ ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ ด้านกิจกรรมประจำวันพระ และ ด้านการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านกายภาพ มี 7 แนวทาง (2) ด้านกิจกรรมประจำวันพระ มี 4 แนวทาง (3) ด้านการเรียนการสอน มี 5 แนวทาง (4) ด้านพฤติกรรมนักเรียน ครู ผู้บริหาร มี 5 แนวทาง (5) ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ มี 8 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/963 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน 2024-08-08T16:16:53+07:00 เริงศักดิ์ เพชรหัสตระกูล mapingloving@hotmail.com เดือนเพ็ญ ภูริเรืองกิตติ์ roengsak.ph@gmail.com สุชาติ เทเวศม์อุดม roengsak.ph@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการจัดการ อำนาจละมุน วัฒนธรรม และความยั่งยืน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจทางวัฒนธรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 250 ตัวอย่าง มีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้มาตราส่วนประมาณค่า วัดความเที่ยงตรง วัดความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเพื่อสอบย้ำตัวแบบเชิงสาเหตุ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการ อำนาจละมุน วัฒนธรรม และความยั่งยืน ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ตัวแบบที่วิเคราะห์คือ ผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีค่าดัชนีความกลมกลืน คือ X<sup>2</sup>/df= 2.845, RMSEA = 0.073, RMR = 0.037 ซึ่งเส้นอิทธิพลของทุกปัจจัยส่งผลต่อศักยภาพด้านความยั่งยืนของอำนาจละมุนทางวัฒนธรรม และ (3) ผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูงในพื้นที่ มีความสามารถในการจัดการอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผู้ประกอบการธุรกิจทางวัฒนธรรมพื้นที่ 4 ภาคของประเทศไทย และผู้บริหารส่วนราชการระดับสูง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1170 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2024-04-10T15:42:37+07:00 พระอนุศร นริสฺสโร (ศรีตระกูล) Anusorn_2529@gmail.com พระครูกิตติวราทร Anusorn_2529@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประชากร จำนวน 12,913 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ t-test และ F-test (One-Way ANOVA)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า:</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการร่วมคิด รองลงมา คือ ด้านการร่วมติดตามและประเมินผลมาบูรณาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการร่วมปฏิบัติ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา ด้านการร่วมติดตามและประเมินผลมาบูรณาการ ไม่แตกกัน นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 พบว่า ประชาชนควรมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการให้มากขึ้น ร่วมคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ และควรมีส่วนร่วมในการคิดเรื่องการบริหารจัดการโครงการ เป็นต้น</span></p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1133 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กรณีศึกษา โรงเรียนรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา 2024-03-24T07:44:09+07:00 อรรถพล เหมาะทอง audthapol.moh057@hu.ac.th ศัจนันท์ แก้ววงศ์ศรี audthapol.moh057@hu.ac.th <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทานในจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 93 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผู้บริหาร รองลงมาคือ ด้านครูผู้สอนและด้านชุมชนและผู้ปกครอง ตามลำดับ 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ซึ่งวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และโปรแกรม AMOS มีความสัมพันธ์ทางบวก (R<sup>2</sup>= .900) อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยพบว่า ปัจจัยด้านครูผู้สอนส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการมากที่สุด (ß=.322) รองลงมาปัจจัยด้านชุมชนและผู้ปกครอง (ß=.289) และปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ß=.190) ตามลำดับ</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1267 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น 2024-05-15T11:09:55+07:00 สุดคนึง ภูชาดา teddy.bo.ntk@gmail.com อาคม อึ่งพวง teddy.bo.ntk@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ชึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครู กศน.ตำบล จำนวน 9 คน จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติดีเยี่ยม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึ่งประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สรุปแนวทางการพัฒนาที่สำคัญได้ 20 แนวทาง</p> 2024-09-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1049 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2024-03-05T09:59:22+07:00 นงนุช คำแหล้ Nongnuchkhamlae@gmail.com ชาญยุทธ หาญชนะ Nongnuchkhamlae@gmail.com <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนที่มีลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน และ 3. เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากประชากร จำนวน 6,842 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 378 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .957 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนที่พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ และอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทุกด้านไม่แตกต่างกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรมีการเปิดโอกาสในการเข้าร่วมประชุมกับผู้นำท้องถิ่นเพื่อเสนอปัญหาความต้องการของชุมชมให้มากกว่าเดิม ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ควรดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ ให้ตรงตามความต้องการของประชาชน และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลควรมีส่วนร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบในการดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนาชุมชน</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1461 ความเหมาะสมในการใช้สื่อโซเชียลของพระภิกษุ-สามเณรที่ส่งผลกระทบต่อศรัทธาของชาวพุทธ 2024-08-03T19:48:44+07:00 สมาน แก้วคำไสย์ thisme31@gmail.com สนุก สิงห์มาตร singmart2512@gmail.com <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการใช้สื่อโซเชียลของพระภิกษุสามเณรที่ส่งผลกระทบต่อศรัทธาของชาวพุทธ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันสื่อสังคมมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนทั้งหลาย เพศบรรพชิตที่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ-สามเณรในพระพุทธศาสนาต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้สื่อสารสนเทศหรือสื่อโซเชียล ในการตัดสินว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้นควรยึดตามความเหมาะสมแห่งหลักมหาประเทศ 4 ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องตัดสินในการศึกษาพระธรรมวินัยของภิกษุ-สามเณร โดยสรุปคือ 1) สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าแม้ไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่สมควร แต่สิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่ไม่สมควร ขัดกับสิ่งที่สมควร สิ่งนั้นจัดว่าไม่สมควร 2) สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าแม้ไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่สมควร แต่สิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่สมควร ขัดกับสิ่งที่ไม่สมควร สิ่งนั้นจัดว่าสมควร 3) สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าแม้ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าสมควร แต่สิ่งนั้นเข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่สมควร ขัดกับสิ่งที่สมควร สิ่งนั้นจัดว่าไม่สมควร และ 4) สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าแม้ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าสมควร แต่สิ่งนั้นเข้ากันกับสิ่งที่สมควร ขัดกับสิ่งที่ไม่สมควร สิ่งนั้นจัดว่าสมควร</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1171 ผู้บริหารสถานศึกษากับความมีภาวะผู้นำในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล 2024-04-10T14:17:02+07:00 แสงดาว คงนาวัง sangdownkk60@gmail.com มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์ sangdownkk60@gmail.com <p> บทความเชิงวิชาการนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลหรือภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจากการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดของนักวิชาการในประเทศไทยและต่างประเทศ สรุปได้ว่าภาวะผู้นำในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ 3) มีการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ 5) มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ติดตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง 7) ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายงานในสถานศึกษามีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน 8) จัดสภาพแวดล้อมในองค์กรที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแท้จริง 9) สร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นองค์กรแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล และ 10) กำกับติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1076 จริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์ชาดก 2024-03-08T22:28:06+07:00 นรุณ กุลผาย narun.kul@mcu.ac.th พิทวัฒน์ มโนรัตน์ narun.kul@mcu.ac.th เครือวัลย์ มโนรัตน์ narun.kul@mcu.ac.th สราวุฒย์ วิจิตรปัญญา narun.kul@mcu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์ชาดก เพื่อวิเคราะห์จริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ที่ส่งผลต่อการบรรลุธรรม การบำเพ็ญจริยาวัตรสร้างบารมีธรรมของพระโพธิสัตว์ เป็นกระบวนการหมั่นฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม ที่จะทำให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ เป็นที่ปรารถนาของทุก ๆ คน ด้วยการปฏิบัติที่มีความมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่าการสร้างบารมี&nbsp; เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงการเลื่อนระดับขั้นของการทำความดีจากระดับปกติสามัญ จนถึงระดับสูงสุด ในบารมีทั้ง 10 ประการ มุ่งไปในการเป็นเครื่องช่วยทำให้พระโพธิสัตว์บรรลุพระโพธิญาณ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การบรรลุพระโพธิญาณบารมีที่สำคัญ คือ ปัญญาบารมี เป็นบาทเบื้องต้นที่นำไปสู่การตรัสรู้ธรรม ปัญญาบารมีของโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญจริยาวัตรสร้างบารมีธรรม ผ่านกระบวนการสุตมยปัญญา จินตามยปัญญาและภาวนามยปัญญา ซึ่งทำให้เกิดมีแล้วนำไปช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยกามาวจรมหากุศลจิต จนกลายเป็นปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ในการตรัสรู้ธรรม เป็นความรู้ระดับญาณขั้นสูงสุด ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นความรู้ที่สามารถทำหลายกิเลศ รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เกิดขึ้น</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1088 กระบวนการ CUEPADD สู่การบริหารงบประมาณสถานศึกษาในยุควิถีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ 2024-03-15T11:03:11+07:00 วรพล ศรีเทพ worapol.sri@hotmail.com ศิลป์ชัย สุวรรณมณี sinchai@tsu.ac.th <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ CUEPADD สู่การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพในยุควิถีใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ในยุควิถีใหม่ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่ต้องปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและวิธีการสอนที่เปลี่ยนไป การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งขึ้น ซึ่งการวางแผนและการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้สถานศึกษาสามารถตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการบริหารงบประมาณในยุควิถีใหม่ต้องเน้นการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมนวัตกรรมและการปรับปรุงอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สถานศึกษาสามารถตอบสนองและเติบโตไปพร้อมกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของสังคมและนักเรียนได้ โดยกระบวนการ CUEPADD สู่การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพในยุควิถีใหม่ ประกอบด้วย 1) วางแผนชัดเจนและมองระยะยาว (Clear and Long-term Planning) 2) ใช้เทคโนโลยีจัดการงบประมาณ (Utilizing Technology for Budget Management and Monitoring) 3) เสริมส่วนร่วมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Encouraging Stakeholder Participation) 4) ตั้งเป้าหมายใช้จ่ายตามจำเป็น (Prioritizing Necessary and Effective Expenditures) 5) กำหนดแนวทางการเงินผสมผสาน (Adopting Blended Learning Approaches) 6) จัดหาแหล่งทุนหลายช่องทาง (Diversifying Funding Sources) 7) พัฒนาบุคลากรด้านการบริหารงบประมาณ (Developing personnel in budget management) ซึ่งการบริหารงบประมาณสถานศึกษาในยุควิถีใหม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความต้องการที่หลากหลายของนักเรียนและสังคมด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1152 พุทธวิธีบริหาร 2024-05-28T16:43:16+07:00 อภิชญา พรรณศรี suphakrit101@gmail.com ธนกร ดรกมลกานต์ kittiphat.thed@mcu.ac.th ไพฑูรย์ สวนมะไฟ kittiphat.thed@mcu.ac.th <p> หนังสือเรื่อง พุทธวิธีบริหาร เขียนโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ผู้ตีความเห็นว่า การจัดโครงสร้างของหนังสือมีความเหมาะสม ด้วยการแบ่งเนื้อหา ที่ลงตัว ลำดับการนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับนั้นตอนได้ชัดเจน การบริหารที่ประสบความสำเร็จมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการบริหารคือ การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่นจึงจำเป็นที่ผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะในการบริหารคน นอกจากนี้สิ่งที่จะทำให้การบริหารประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ในการกำหนดทิศทางขององค์กรให้ไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน โดยอาศัยองค์ความรู้ทางโลกมาบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น พุทธวิธีในการอำนวยการ การอำนวยการในการบริหาร ต้องอาศัยภาวะผู้นำเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่นำพาองค์กรประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีภาวะผู้นำ คือมีความสามารถในการจูงใจให้คนเกิดความต้องการอยากปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บริหาร การอำนวยการเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหาร ผู้บริหารต้องอาศัยการบูรณาการหลักการสื่อสาร ส่วนพุทธวิธีในการกำกับดูแล การกำกับดูแลเป็นการควบคุมสมาชิกภายในองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วาง การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบริหารงานทำให้การพัฒนาองค์กรเกิดประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ (เป้าหมาย) ขององค์กรได้อย่างแท้จริง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/stw/article/view/1092 สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข 2024-03-17T11:22:27+07:00 กิตติพัทธ์ เทศกำจร suphakrit101@gmail.com พระครูวาปีจันทคุณ kittiphat.thed@mcu.ac.th ธนกร ดรกมลกานต์ kittiphat.thed@mcu.ac.th <p> หนังสือ "สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข" โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) แสดงถึงความสำคัญของอิสรภาพและความสุขในการสร้างสันติภาพในสังคมและในระดับบุคคล หนังสือเล่มนี้เป็นการถอดคำปราศรัยที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้กล่าวในพิธีรับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ ณ องค์การยูเนสโก้ ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 เนื้อหาภายในหนังสือเน้นถึงการพัฒนาตนเองผ่านการศึกษาและการฝึกฝนทางจิตใจเพื่อให้เกิดอิสรภาพภายในและความสุขที่แท้จริง การเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะนำไปสู่สันติภาพและความมั่นคงอย่างยั่งยืนทั้งในระดับบุคคลและสังคมโดยรวม</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เสฏฐวิทย์ปริทัศน์