การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธธรรมเชิงประสบการณ์สำหรับพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา

Main Article Content

วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พุทธธรรมเชิงประสบการณ์สำหรับพัฒนาสุขภาวะทางปัญญารูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พุทธธรรมเชิงประสบการณ์มีกระบวนการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยการนำหลักธรรมมาปฏิบัติ สำรวจจิตใจตนเอง เข้าใจ ยอมรับ เพื่อนำไปสู่การปล่อยวางซึ่งทิฏฐิมานะ เป็นเหตุให้เกิดการเปิดใจที่จะรับฟังและทำความเข้าใจวิถีการปฏิบัติของคนอื่น กลุ่มอื่น ศาสนาอื่น โดยอาศัยรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ SATI MODEL ประกอบด้วย S = Survey (สำรวจ) A = Analysis (วิเคราะห์ความเป็นไปได้) T = Tools (เครื่องมือ) I = Inner Transformation (อำนวยการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงคุณค่าและศักยภาพในตัวเองจากการตระหนักรู้ภายใน)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ, ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาและจริยศาสตร์)

References

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 15(2), 111-117.

บรรพตี รำพึงนิตย์ รวิช ตาแก้ว และกีรติ บุญเจือ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาปารมิตา ในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. (10)4, 111-118.

เมธา หริมเทพาธิป. (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้ว และคณะ. (2566). ปัจจัยพลังอํานาจของชาติด้านเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพุทธมัคค์. 8(1), 33 - 41.

วิเศษ แสงกาญจนวนิช. (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่ (PHE 9103). สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุดธินีย์ ทองจันทร์. (2566). สุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพุทธมัคค์. 8(1), 1-11.