การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลที่มีต่อความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
การสอนวรรณคดี, วิธีการสอนแบบ SQ4R, การเล่าเรื่องแบบดิจิทัล, การวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับ การเล่าเรื่องแบบดิจิทัล 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้การสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลที่มีต่อความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยและความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการสอนฯ แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองแบบกลุ่มเดียว โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-group pretest–posttest design) วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย มีระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ รวมทั้งหมด (15 คาบเรียน) ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารวิทยา ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling method) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอน แบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทย และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและ Man Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล ที่มีต่อความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อหาวรรณคดีไทย กิจกรรมการเรียนรู้ ใบงาน การประเมินผล และ แหล่งการเรียนรู้และเครื่องมือ โดยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนระดมความคิด ขั้นอ่านเอาเรื่อง ขั้นวิเคราะห์ และ ขั้นวิพากษ์วิจารณ์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.