การแสดงหลักฐานความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดการรับรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษาครู : การศึกษาโมเดลแข่งขัน

ผู้แต่ง

  • อนุ เจริญวงศ์ระยับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี 84100
  • ภาวิณี เดชเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถ, การใช้ภาษาอังกฤษในการสอน, นักศึกษาครู, โมเดลแข่งขัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจโมเดลแข่งขันของแบบวัดการรับรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษาครู และ 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลแข่งขันแบบวัดการรับรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษาครูจำนวน 3 โมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยคือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจำนวน 733 คนจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 354 คน และ 379 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดการรับรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษาครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบโมเดลแข่งขันผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบองค์ประกอบ 2 แบบ ได้แก่ (1) โมเดล 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสาร และการสอน (2) โมเดล 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การรับสาร และการส่งสาร และการสอน 2) เมื่อนำผลการการค้นหาโมเดลแข่งขัน 2 โมเดล มาเปรียบเทียบกับโมเดลดั้งเดิม 7 องค์ประกอบได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การสร้างสื่อ การสอน และการวัดและประเมินผล พบว่าโมเดล 7 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สูงกว่าโมเดลแข่งขั้นทั้ง 2 โมเดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22

How to Cite

เจริญวงศ์ระยับ อ. ., & เดชเทศ ภ. . (2023). การแสดงหลักฐานความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดการรับรู้ความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษในการสอนของนักศึกษาครู : การศึกษาโมเดลแข่งขัน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 36(2), 126–143. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/549

ฉบับ

บท

บทความวิจัย