การตัดสินใจเลือกอาชีพและการศึกษาของนักเรียนกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศไทย ระยะ 20 ปี : กรณีศึกษาโรงเรียนคงทองวิทยา จ.นครปฐม

ผู้แต่ง

  • อรษา ตันติยะวงศ์ษา ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 10800
  • กมลนัทธ์ มีถาวร ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 10800
  • ปัทมา คิดรอบ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยระยะ 20 ปี, ทักษะด้าน STEM, เจตคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการเลือกอาชีพและการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579), วัดเจตคติของนักเรียนต่อทักษะด้าน STEM  และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอาชีพและการศึกษาต่อของนักเรียน เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคงทองวิทยา จ.นครปฐม 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและโมเดลโพรบิท ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 59 อยากเรียนสาขาวิชาที่ใช้ทักษะ STEM อย่างเข้มข้น มีเพียงร้อยละ 37 อยากประกอบอาชีพในอนาคตที่ใช้ทักษะ STEM อย่างเข้มข้น  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อทักษะด้าน STEM โดยสาขาวิชาที่นักเรียนต้องการเรียนต่อมีความสัมพันธ์กับอาชีพที่อยากทำในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเรียนต่อ อาทิ เพศ เจตคติต่อทักษะด้าน STEM และอาชีพที่อยากทำในอนาคตมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่ต้องการเรียนต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ในขณะที่อาชีพของผู้ปกครอง และอาชีพของบุคคลที่นักเรียนชื่นชอบไม่มีความสัมพันธ์กับสาขาที่ต้องการเรียนต่อและอาชีพที่อยากทำในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-12

How to Cite

ตันติยะวงศ์ษา อ. ., มีถาวร ก. ., & คิดรอบ ป. . (2023). การตัดสินใจเลือกอาชีพและการศึกษาของนักเรียนกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศไทย ระยะ 20 ปี : กรณีศึกษาโรงเรียนคงทองวิทยา จ.นครปฐม. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 36(1), 31–46. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/article/view/538

ฉบับ

บท

บทความวิจัย