พฤติกรรมการทำงานของพนักงานดีเด่นโรงงานอุตสาหกรรมฉีดพลาสติกขึ้นรูปเครื่องใช้ไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1 กรณีศึกษา : บริษัท TTN จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานของพนักงานดีเด่นในโรงงานอุตสาหกรรมฉีดพลาสติกขึ้นรูปเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยวิธีการศึกษาแบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานดีเด่นของ บริษัท TTN จำกัด จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ประเภทมีโครงสร้าง วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการทำงานของพนักงานดีเด่นในโรงงานอุตสาหกรรม มีคุณลักษณะ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านความมีวินัย พบว่า มีการแสดงพฤติกรรมโดย มีความเอาใจใส่ต่อการทำงาน มีการวางแผนการทำงานล่วงหน้าและปฏิบัติตามกฎระเบียบ อย่างเคร่งครัด ด้านความรับผิดชอบ พบว่า มีการแสดงพฤติกรรมโดยมีความกระตือรือร้นในการทำงานมีความสุขกับการทำงาน และใช้ทรัพยากรของทางโรงงานอุตสาหกรรมอย่างประหยัด ด้านมนุษย์สัมพันธ์ มีการแสดงพฤติกรรมโดย มีความสมัครใจที่จะอาสาช่วยงานต่าง ๆ ชอบให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม ด้านความคิดสร้างสรรค์ พบว่า มีการแสดงพฤติกรรมโดย มีการพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และมีการจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน
Article Details
References
กิตติยาวดี พุทธก้อม, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, นันทพร ภัทรพุทธ. (2566). การรับรู้และทัศนคติด้านความปลอดภัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตหมึกพิมพ์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครในช่วงการระบาดของโควิด-19. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 131-142.
ณภาภัช จันทร์สถิตานนท์. (2566). การศึกษาการรับรู้ปัจจัยคงอยู่ในองค์กรและพฤติกรรม การปฏิบัติงานของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพของงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 3(2), 43-56.
ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมการปฏิบัติงานส่งผลต่อ สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดปทุมธานี. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 5(2), 514-526.
พล จินชัย, จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์. (2566). ปัจจัยด้านการประกอบการขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในธุรกิจการผลิตระบบนิวเมติกส์ อัตโนมัติ: กรณีศึกษาบริษัทเอส. เอ็ม. ซี.(ประเทศไทย) จำกัด. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 3(2), 57-69.
พิชชาพร สันติตรานนท์, ปราโมช ธรรมกรณ์, สักรินทร์ อยู่ผ่อง. (2566). ปัจจัยด้านการจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาบริษัทเอ็นเอ็ มบี-มินีแบไทยจำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(1), 128-139.
สิทธิโชค ชู พงศ์พันธุ์, ฐิติมา ไชยะกุล. (2566). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การและการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่ปฏิบัติงานในเขต อุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์คจังหวัดระยอง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(2), 245-256.
สุรัสวดี ไพลดำ, ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2566). อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรม องค์การคุณภาพชีวิตในการทำงานและความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชาต่อผลการปฏิบัติงานของ พนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(3), 125-140.
Ancelin-Bourguignon, A. (2019). The priming role of qualitative research in constructivist management control teaching. Qualitative Research in Accounting & Management, 16(4), 463-490.
Boonchaiyutasak, J., Chunin, M., & Wongpinpech, P. (2023). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมยินยอมทำตามกฎ ความปลอดภัยของพนักงานบริษัทสนับสนุนกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบนบกในจังหวัดภาค เหนือตอนล่าง. วารสารราชพฤกษ์วิชาการ, 17(52), 323-340