https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน 2024-08-30T14:15:36+07:00 นางสาวจิราภรณ์ ชนัญชนะ ๋Jiraporn.chanan@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการการบริ<wbr />หารสาธารณะและเอกชน</strong><br /><strong>Journal Management Science of Public and Private Administration</strong></p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 3 ฉบับต่อปี</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารวิทยาการจัดการการบริ<wbr />หารสาธารณะและเอกชน จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ ด้านการจัดการภาครัฐ บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์</p> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/article/view/1491 การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี 2024-08-13T19:43:56+07:00 กัณฑ์ชยวัฒน์ ใสยจิตต์ ppmarma2536@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี ( 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมและเป็นรายด้าน จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดเพชรบุรี โดยจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่าเพศแตกต่างมีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร แตกต่างและจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างมีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของผู้บริหาร ไม่แตกต่าง</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/article/view/1489 บทบาทผู้บริหารในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 2024-08-13T19:39:23+07:00 ปิยนุช แหวนเพชร ppmarma2536@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำแนกตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐาน (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน โดยสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และใช้การทดสอบความแปรปรวนด้วย One-Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เปรียบเทียบตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์การทำงาน และวิทยฐานะ ไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ผู้บริหารควรสร้างขวัญและกำลังใจครูอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครูรู้สึกมีความรักและผูกพันกับองค์กรและมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงาน</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/article/view/1448 ประสิทธิผลการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกไปปฏิบัติ 2024-07-24T10:54:39+07:00 อำภา มาลี ppmarma2536@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกไปปฏิบัติ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกไปปฏิบัติจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกไปปฏิบัติกับ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง 300 คน ประชากรในตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียวและสหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิเคราะห์พบว่า&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (1) ด้านประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังงานทางเลือกไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังทางเลือกไปปฏิบัติ จำแนกตามลักษณะประชากร พบว่า มีความแตกต่างกันด้าน อายุ การศึกษา รายได้ต่อเดือน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการใช้โซล่าเซลล์เป็นพลังทางเลือกไปปฏิบัติเป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/article/view/1447 ประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-07-24T10:56:06+07:00 สุภานัน ประทับทอง ppmarma2536@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเมื่อจำแนกจากลักษณะประชากร และ (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 ราย ได้แก่ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และได้ทำการกู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JPPMS/article/view/1446 การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาดหัวหินและเขาตะเกียบ เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-07-24T10:58:09+07:00 อรภัทร เวชชูศักดิ์ชัย ppmarma2536@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการ วัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อประเมินระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว กับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการ (4) เพื่อพยากรณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณกลุ่มตัวอย่าง 300 คนจากประชาชนในพื้นที่อำเภอหัวหิน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา (1) ด้านระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด หัวหินและเขาตะเกียบ เทศบาลเมืองหัวหินพบว่าอยู่ในระดับมาก (2) ด้านเปรียบเทียบการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่ชายหาด พบว่ามีความแตกต่างกันด้านเพศ (3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยวพื้นที่ชายหาด พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ พื้นที่ชายหาด อย่างมีนัยสำคัญและ (4) ด้านการพยากรณ์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสามารถพยากรณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ เพื่อการท่องเที่ยว ได้เกินร้อยละ 66.1 โดยมีตัวแปรที่มีอำนาจการพยากรณ์ประกอบด้วย การวางแผนการจัดองค์กร การโน้มนำและการติดตามผล</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการการบริหารสาธารณะและเอกชน