แนวทางการแก้ปัญหามลพิษชุมชน ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาและการป้องกันมลพิษชุมชน ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อระบุสภาพปัญหามลพิษของชุมชน ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและการป้องกันมลพิษชุมชน ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนตำบลทุ่งคอก จำนวน 400 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สำหรับผู้บริหารข้าราชการฝ่ายการเมือง ผู้บริหารข้าราชการฝ่ายประจำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษชุมชนจัดอยู่ในระดับด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลมาก โดยวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่สอดคล้องกับปัญหาด้านเวลาที่จะเข้าร่วมประชุมตัดสินใจ ประชาชนไม่เข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามลพิษ ประชาชนขาดความเข้าใจในการมี่ส่วนร่วมในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการ งบประมาณที่มีไม่เพียงพอต่อโครงการต่างๆ ทำให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินการล่าช้า ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรด้านต่าง ๆ ประชาชนไม่เข้าใจเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาและการป้องกันมลพิษชุมชนพบว่า แนวทางการเพิ่มบทบาทในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กัน แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้บทบาทภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มศักยภาพ แนวทางการจัดทำนโยบายและแผนดำเนินการการแก้ปัญหามลพิษในโครงการต่าง ๆ
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ : สำนักจัดการคุณภาพ อากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ.
กล้า มณีโชติ และไกรชาติ ตันตระการอาภา. (2557). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental
Impact Assessment. กรุงเทพฯ: เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์.
กาญจนา สวายพล. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล ละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขารัฐประศาสนศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมตาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วน
ตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
พิเชฐ โสภณแพทย์. (2555). การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มานิดา เฟื่องชูนุช. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพ กรณีศึกษาโครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). คู่มือประชาชน การเฝ้าระวังและ
ติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม.
สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. (2558). ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Cornell University.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions Through
Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
Wather, P. (1988). An Introduction Guide to Environmental Impact Assessment. In Environmental Impact Assessment Theory and Practice. London: Unwin Hayman.
World Health Organization. (1978). Report of the International Conference on Primary Health
Care. New York: N.P.Press.