คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัจฉรา ชันแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อประเมินระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 169 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) บุคลากรมีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การในระดับมาก (3) บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อายุราชการและอัตราเงินเดือนที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีอายุ และระดับตำแหน่งปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Article

References

กมลวรรณ พันธุ์. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสังกัด สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547).คุณภาพชีวิตการทาํงาน (Qualityof worklife).อนุสารแรงงาน

พิชัย บังหมัด. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานธุรกิจ

สำรวจและผลิตปิโตรเลียม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 3(1), 120 132.

รัชมงคล ค้ำชู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2561). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย.

สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).

สุทธิพงศ์ อ่อนจันทร์อบ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของ

บุคลากรกรมทรัพยากรน้ำ (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

สุภชาดา คงเกษม. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานมีผลต่อความผูกพันองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี

Dorethea Lyonne Walter. (2017). The Relationship of Quality of Work-Life and Organizational Commitment: A Correlational Study of Flight Attendants in the United States. (A Dissertation for the Degree of Doctorate of Philosophy). Grand Canyon University.

Huse, E. F., & Commings, T. G., (1985). Organization development and change. Minnesota:

Steers, R.M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22, 45 - 56.

Walton, R.E. (1974). Improving the Quality of Work Life. Harvard Business. 149(6), 10-35.

West.

World Health Organization. (1993) WHOQOL study protocol. WHO.