คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความเจริญเติบโตและก้าวหน้า ด้านลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านความรับผิดชอบโดยรวม รายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 7 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ หน่วยงานควรให้การสนับสนุนการการเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดอบรม/สัมมนา เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในการทำงานให้แก่บุคลากร และที่สำคัญบุคลากรควรปฏิบัติงานโดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
Article Details
References
ณิศาภัทร ม่วงคำ.(2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร :กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. (สารนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
ทัศนีย์ ชาติไทย.(2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานวิจัย).
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปรียาภรณ์ อยู่คง.(2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารในจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชนก ศรีขา.(2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานห้างเทสโก้โลตัสโลตัส. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก
พรพิตรา ธรรมชาติ.(2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจในการลาออกของผู้แทนขายระดับบังคับบัญชา ของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนาภรณ์ บุญมี.(2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตาบลนาดี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วัชรีเนตร วุฒานุสรณ์.(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.
วธู สวนานนท์.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานอัยการสูงสุด. (2564). ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด. สืบค้นจาก https://www2.ago.go.th/index.php/about
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John
Wiley & Sons.
Walton, R. E. (1974). “Improving the Quality of Work Life.” Harvard Business review. 4 (7): 22-27.