การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรมจังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 ราย ได้แก่ บุคลากรสำนักงานยุติธรรมจังหวัดตราด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดตราดที่มีอายุต่างกัน มีการพัฒนาสมรรถนะไม่แตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานยุติธรรม จังหวัดตราด เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง
Article Details
References
กัญญาฏา พวงมะลิ. (2556). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานวิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. กรุงเทพ.
เกษรา โชติช่วง. (2554). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรส่วนการคลังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
จามรี บัวทุม. (2558). สมรรถนะบุคลากรของเทศบาลตำบลทับมา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ชาตรี เทียนทอง. (2556). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พิสมัย ชัยมหา. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานสำนักงานอัยการสูงสุด ภาค 1.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
เพ็ญ จะชานรัมย์. (2559). สมรรถนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม ด้านการลงทุนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
รุ่งฤดี สมประสงค์. (2558). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักเลขานุการสำนักงานโยธา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ณัฐนันท์ มั่นคง. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรภาคอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
โสภาพร ธรรมจักษุ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามหน้าที่ของข้าราชการกรมสรรพากรตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก : คำอธิบาย และตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. นนทบุรี: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด