ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด

Main Article Content

กัณญธิดา ลภัสธนาทิพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นแบบผสมผสานการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 คน ได้แก่ ข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าที และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ได้แก่ ข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และ (3) ด้านแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า (ก) ควรกำหนดหน้าที่หรือเป้าหมายการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้การปฏิบัติงานตรงตามขอบเขตของงาน (ข) ควรทบทวนการปฏิบัติงาน แต่ละงานอย่างชัดเจนมีการมอบหมายงานเพื่อลดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน และ (ค) ควรมีการอบรมวิธีการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย

Article Details

บท
Research Article

References

แก้วตา ศรีเสาวลักษณ์. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครรังสิต. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ชัยวุฒิ เทโพธิ์. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสำนักงาน ป.ป.ช.. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภสร สุดท้วม. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลินี นกศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ธรรมรักษ์ ออโตพาร์ท จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 6 เมษายน 2560.

วิชาญ สัดชา.(2559). การบริหารแบบระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สุภาภรณ์ ชัยวงษา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสำนักงานอัยการสูงสุดกรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ 2561 – 2580 ฉบับย่อ. สืบค้นจาก

https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคณะกรรมการ 3. (2563). หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการอัยการ 2563. สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด.

อัญชลี จอมคำสิงห์. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Peterson, E., and Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. Homewood, Ill.: Richard D. Irwin.

Richard, E. B. (1982). The Competent manager: A model for effective performance. New York: John Wiley & Sons.

Ryan, Thomas A. and Smith, P. C. (1954). Principle of Industrial Psychology. New York: the Mcmald Press Company.