รูปแบบการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการกรมสรรพสามิตส่วนกลาง

Main Article Content

Walika Maliwanphudphong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินผลการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมสรรพสามิตส่วนกลาง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการให้บริการประชาชน (2) เพื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของ กลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ กับรูปแบบการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการให้บริการประชาชน 4) เพื่อพยากรณ์รูปแบบการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วยปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมสรรพสามิตส่วนกลาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการสังกัดกรมสรรพสามิตส่วนกลาง จำนวน 250 นาย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนเชิงเดียว สหสัมพันธ์เพียรสัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า              (1) การจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมสรรพสามิตส่วนกลาง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการให้บริการประชาชนอยู่ในระดับสูงที่สุด (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการกับรูปแบบการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการสามารถพยากรณ์ รูปแบบการจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการร้อยละ 37.3 โดยตัวแบบ ประกอบด้วย การจัดการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ =.1430ค่าคงที่+.274การจัดองค์การ  +.261การวางแผน +.152การควบคุม


 

Article Details

บท
Research Article

References

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า

อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ : ความหมาย การวัด และการประยุกต์ในระบบ บริหารภาครัฐไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 9(3), 30 – 90.

วาสนา แก้วฟอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่. (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2560). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ปีงบประมาณ พ.ศ.2558. วารสารการบริหารท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(3), 130 – 144.

พงศธร ผาสิงห์. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของเทศบาลในจังหวัด. อุตรดิตถ์”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ. อุตรดิตถ์.

เพชร กล้าหาญ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

วิชาญ เกษเพรช. (2545). การดําเนินงานตามกระบวนการบริหารระบบคุณภาพกับความสำเร็จของการบริหารงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.